บทความพลังงาน

น้ำ "ฟอสซิล" ใต้ผิวโลก คือมรดกของมนุษยชาติ 
[ ตอบกระทู้นี้เพิ่ม คลิกที่นี่ ]

น้ำ "ฟอสซิล" ใต้ผิวโลก คือมรดกของมนุษยชาติ

โดย วราภรณ์ สามโกเศศ มติชนรายวัน วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2546
เมื่อเร็วๆ นี้ สหประชาชาติได้พยากรณ์ว่า โลกจะขาดแคลนน้ำในสองสามทศวรรษข้างหน้า แต่น้ำที่พูดถึงนี้หมายถึงน้ำจืดตามธรรมชาติที่เรากินใช้กันอยู่ทุกวัน หากนับรวมไปถึงน้ำที่อยู่ใต้ดินลึกลงไปนับกิโลเมตรแล้ว ข้อกังวลนี้เลิกคิดได้เลย แต่ควรกังวลถึงเรื่องผลกระทบทางนิเวศวิทยาจากการดูดน้ำใต้ดินลึกเหล่านี้ขึ้นมาใช้มากกว่า
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับน้ำในโลกเรานั้นผิดไปจากที่เข้าใจกันอยู่มาก เพียงร้อยละ 2.5 ของน้ำบนผิวโลกเท่านั้น ที่เป็นน้ำจืด ส่วนใหญ่นั้นอยู่ในสภาพก้อนน้ำแข็งใหญ่มหึมาโดยเฉพาะที่ขั้วโลก และน้อยกว่าสามในสี่ของร้อยละ 1 ของน้ำจืดของโลกเหล่านี้อยู่ในห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ หรือน้ำใต้ดินตื้นๆ หรือทะเลสาบ ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ของการใช้น้ำของมนุษยชาติตลอดประวัติศาสตร์ น้ำในส่วนนี้แหละที่เป็นปัญหา เพราะเหือดแห้ง และถูกทำลายด้วยมือมนุษย์หนักมือขึ้นทุกวัน
มีสัญญาณหลายอย่างที่ชัดเจนขึ้นเป็นลำดับว่ามนุษย์จะมีปัญหาเกี่ยวกับความยั่งยืนของแหล่งน้ำเหล่านี้ น้ำใต้ดินตื้นๆ ในหลายส่วนของโลกกำลังลดลงเป็นลำดับ พร้อมกับป่าที่เป็นแหล่งความชื้น และนำมาซึ่งน้ำตามธรรมชาติ ที่หมุนเวียนไม่มีวันหมด เริ่มมีพื้นที่น้อยลงทั่วโลก เมฆหมอกที่เป็นที่พึ่งของชีวิตมนุษย์มายาวนาน มีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น
แทนที่จะมองขึ้นไปบนท้องฟ้า มนุษย์กลับเริ่มมองลงไปในทิศทางตรงกันข้ามคือใต้ดิน เพราะเป็นที่รู้กันในแวดวงวิชาการ ว่าใต้ดินมีแม่น้ำ และทะเลสาบหรือที่เรียกว่า AQUIFERS ซึ่งเป็นแหล่งบรรจุน้ำจืดสะอาดอยู่ใต้ดินลึกกว่า 1 กิโลเมตร อยู่เป็นจำนวนมาก
AQUA เป็นภาษาละตินแปลว่าน้ำ(ดังเช่นคำว่า AQUA VITAE หรือน้ำแห่งชีวิต ซึ่งหมายถึงบรั่นดี หรือเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์) ส่วนคำว่า AQUIFERS หมายถึง พื้นที่หินที่ดูดซับ หรือช่องหินที่เป็นภาชนะเก็บน้ำใต้ผิวโลก บางแหล่งสะสมเก็บน้ำที่มีอายุหมื่นปีถึงล้านปี อย่างที่เรียกกันว่าน้ำ "ฟอสซิล" ก็มี
การสำรวจ AQUIFERS อย่างกว้างขวางทั่วโลกเมื่อไม่นานมานี้ พบน้ำปริมาณมากมายในบางแหล่งอย่างคาดไม่ถึง จนเรียกน้ำที่มีค่าเหล่านี้ว่า BLUE GOLD เพราะสามารถเป็นน้ำให้ผู้คนนับพันล้านคนบริโภคได้นับเป็นเวลาร้อยๆ ปี โดยมีปริมาณเป็นร้อยเท่าของน้ำบนผิวดิน
คุณภาพของน้ำใน AQUIFERS เหล่านี้มีคุณภาพดีกว่าน้ำในแม่น้ำและทะเลสาบในปัจจุบัน ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในด้านการขุดเจาะ(ดังที่สามารถขุดเจาะลงไปในหินแกรนิตในชั้น BASEMENT ROCK ของผิวโลกได้เป็นนับกิโลๆ จนพบน้ำมันดิบ) และการทำแผนที่ทรัพยากร ทำให้ได้รู้ถึงข้อมูลของน้ำคุณภาพดีเหล่านี้ อย่างไม่เคยทราบมาก่อน
แหล่ง AQUIFERS ใหญ่ที่เรียกว่า GUARANI ซึ่งอยู่ใต้พื้นดินระหว่างประเทศ อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย และอุรุกวัย เชื่อว่ามีน้ำอยู่มากมายถึงขนาดที่ว่าถ้าแต่ละคนบริโภควันละ 102 ลิตรต่อวัน ก็สามารถบริการคนได้ 5.5 พันล้านคน(ประชากรโลกปัจจุบันคือ 6 พันล้านคน) ได้เป็นเวลา 200 ปี
แหล่งอื่นๆ ก็ได้แก่ KALAHARI KAROO AQUIFER อยู่ใต้แผ่นดินประเทศ NAMIBIA BOTSWANA และ SOUTH AFRICA หรือ NUBIAN SANDSTONE AQUIFER อยู่ใต้แผ่นดินประเทศลิเบีย อียิปต์ CHAD และซูดาน แหล่งอื่นๆ อยู่ในทางตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือ และเทือกเขา CAUCASUS
ทุกแหล่ง AQUIFERS น้ำมิได้มีอายุเท่ากัน บ้างก็มีอายุ 10,000 ปี ดังเช่น NUBIAN SANDSTONE ซึ่งเชื่อว่าเป็นแหล่งรับน้ำฝนจากเมื่อ 10,000 ปีก่อน สมัยเมื่อทะเลทรายซาฮารายังเขียวขจี ปริมาณน้ำใน AQUIFERS แห่งนี้มีอยู่ประมาณ 500,000 เท่า ของปริมาณน้ำที่ไหลในแม่น้ำไนล์ ในอียิปต์ ในแต่ละปี แต่ปริมาณน้ำใน AQUIFERS นี้เพิ่มขึ้นเพียงปีละเล็กน้อยภายใต้สภาพอากาศปกติ
ถึงแม้นักวิทยาศาสตร์จะสามารถคำนวณปริมาณน้ำใน AQUIFERS ได้ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าแหล่งใด น้ำหมดแล้วหมดไปเลยโดยไม่อาจทดแทนได้ หรือแหล่งใดมีน้ำทดแทนขึ้นมาบ้างและเพิ่มขึ้นในอัตราใด
ประเด็นนี้เป็นเรื่องกังวลของนักสิ่งแวดล้อมและนักเศรษฐศาสตร์ทรัพยากร เพราะการนำน้ำจากแหล่งเหล่านี้มาใช้ โดยไม่ทราบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในระยะสั้นและยาว และไม่รู้ว่าเป็นทรัพยากรที่ทดแทนได้หรือไม่ เปรียบเสมือนกับการวิ่งฝ่าดงกระสุนปืนโดยไม่มีเสื้อเกราะ(ไม่ว่าจะประมูลซื้อโดยทางการไทย หรือซื้อส่วนตัวก็ดี) แต่สถานการณ์ปัจจุบันของการนำน้ำใต้ดินจากบ่อบาดาล ชนิดที่ไม่อาจทดแทนได้มาใช้ก็เลวร้ายพออยู่แล้ว องค์กร GLOBAL WATER POLICY PROJECT ในสหรัฐอเมริการะบุว่า ประมาณร้อยละ 8 ของปริมาณอาหารที่เลี้ยงชาวโลกหกพันล้านคนมาจากการใช้น้ำประเภทที่ไม่อาจทดแทนได้ การทรุดตัวของดินอันเป็นผลจากการสูบน้ำบาดาล และการสูญหายไปอย่างไม่มีวันกลับของน้ำเป็นเรื่องที่น่ากังวล
อย่างไรก็ดี ประเด็นที่น่าปวดหัวอย่างมากของเรื่อง AQUIFERS ก็คือผลประโยชน์ที่อาจขัดแย้งกันระหว่างประเทศที่อยู่เหนือ AQUIFERS เดียวกัน เนื่องจากการสูบออกไปของประเทศหนึ่งย่อมเหลือให้ประเทศอื่นๆ น้อยเป็นธรรมดา
รัฐบาลลิเบียได้ทำโครงการวิศวกรรมยิ่งใหญ่อันหนึ่งของโลกเสร็จสิ้นลง นั่นก็คือการสูบน้ำจาก AQUIFERS อาทิตย์ละนับร้อยๆ ล้านลิตร และอัดใส่ท่อใต้ดินยาว 3,200 กิโลเมตร ไปทางเหนือให้ถึง TRIPOLI เมืองหลวงในขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่อยู่เหนือ AQUIFERS นี้ เช่น อียิปต์ CHAD และซูดานได้แต่มองตาปริบๆ เพราะไม่มีโอกาสมีส่วนร่วมในแหล่งน้ำนั้นเลย
ในสนธิสัญญาเกี่ยวกับการใช้น้ำร่วมกันระหว่างประเทศนับร้อยฉบับที่เกิดขึ้นในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ไม่มีฉบับใดที่พาดพิงถึงน้ำใน AQUIFERS เลย แต่ในสภาพปัจจุบันที่รู้กันดีว่า AQUIFERS นั้นฝังตัวอย่างทอดยาวข้ามพรมแดนของหลายประเทศ ทำให้เกิดโอกาสของความขัดแย้งระหว่างประเทศในการใช้น้ำในแนวใหม่ขึ้น
INTERNATIONAL ASSOCIATION OF HYDROGEOLOGISTS ได้เริ่มทำการสำรวจและทำแผนที่ของ AQUIFERS และปริมาณน้ำที่บรรจุอยู่ครั้งใหญ่ทั่วโลก โดยหวังว่าอาจใช้เป็นฐานในการเจรจาต่อรองปรับสนธิสัญญาใช้น้ำใหม่ เพื่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นน้อยที่สุด
อิสราเอลและปาเลสไตน์ ได้โต้เถียงกันมานานพอควรเกี่ยวกับการใช้น้ำจาก AQUIFERS ที่มีชื่อว่า THE MOUNTAIN AQUIFER ที่อยู่ใต้แผ่นดินส่วนที่เรียกว่า THE WEST BANK ที่น่าจะทะเลาะกันก็เพราะน้ำส่วนใหญ่ที่เพิ่มปริมาณใน AQUIFERS ในแต่ละปีนั้นไหลมาจากฝั่งของปาเลสไตน์ แต่อิสราเอลเป็นฝ่ายใช้น้ำร้อยละ 85 ของน้ำที่สูบขึ้นจาก AQUIFERS ในแต่ละปี
การค้นพบว่ายังมีน้ำใต้ดินที่อยู่ลึกเป็นกิโลเมตรอยู่อีก เป็นปริมาณมากมายเป็นข่าวดีสำหรับมนุษยชาติ เมื่อคำนึงถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำบนผิวโลก อย่างไรก็ดี น้ำใน AQUIFERS เหล่านี้ถือได้ว่าเป็นมรดกของมนุษยชาติที่อยู่มานับเป็นหมื่นหรือล้านปี การนำมาใช้จำเป็นต้องคำนึงอย่างรอบคอบถึงความสามารถในการทดแทนได้ เพราะแต่ละ AQUIFERS มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนกัน บ้างใช้แล้วก็หมดไป บ้างก็ทดแทนได้บ้าง
ไม่ว่าจะทดแทนไม่ได้หรือได้ในลักษณะใดก็ตามที มรดกที่ใช้เวลาในการเก็บรักษามานานแสนนานเช่นนี้ สมควรถูกนำมาใช้อย่างใคร่ครวญ และควรเป็นแหล่งสุดท้าย หลังจากปริมาณน้ำผิวโลกขาดแคลน ตราบที่เรายังไม่เข้าใจผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการนำมันขึ้นมาใช้อย่างถ่องแท้เสียก่อน

จากคุณ nok เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 47 เวลา 13:41:31

พี่คะ หนูต้องทำโครงงานใหญ่อะ ช่วยหาภาพมาลงให้ทีสิคะ จะกราบขอบคุณเลยคะ

จากคุณ พูลศิริ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 48 เวลา 17:01:09

เฮ้ย โรงเรียนอะ สั่งเหมือนกัน 150หน้า

จากคุณ บําบําสั่งมา เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 48 เวลา 18:24:17

เหมือนกันเลยอ่ะ เบื่อว่ะ!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

จากคุณ อย่ารู้เลย เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 48 เวลา 20:07:56

อยากรู้เรื่องฟอสซิลให้มากกว่านี้ มีรูปด้วยก็ยิ่งดี จาขอบคุณมากๆ

จากคุณ ฟหกดวสา เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 48 เวลา 17:23:16

จากอ. บำราศ ขอรูปด้วย

จากคุณ บ่ำบ้ำ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 48 เวลา 13:53:26

อาจานบำบ้ำสั่งเหมือนกานน ขอรูปด้วยค่ะ

จากคุณ Ize เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 48 เวลา 10:11:51

บำบำ้เหมือนกานนแม้งสั่ง150หน้า ให้ตายยสิพับผ่าเถอะะ

จากคุณ เชฐ 4/1 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 48 เวลา 21:05:50

กุก้อบั๊ม

จากคุณ ปาม 4/6 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 48 เวลา 21:20:17

ของเค้าก้อบำราศนะตัว

จากคุณ ฟาม 4/4 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 48 เวลา 22:44:14

บั๊มสั่งมา ส่งวันจันทร์แร้ว ช่วยหารูปดีๆให้ทีคร่า

จากคุณ บำราศสั่งลุย เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 48 เวลา 0:47:52

้่ัีะเัีัีัีััีรนนรัพะเ่ีี้้้้้ะเเ้้้้้้ด้เ้เ้้้้เ้ด้เ้้เ้้้้ะเ้เ้่้้เ้



จากคุณ พะ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 48 เวลา 17:04:08

ก้หเดดออิ อ้เพเ้่พ



จากคุณ เรน เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 48 เวลา 18:50:31

มีรูปประกอบด้วยจะดีมากเลยนะค่ะ เพราะเนื้อหาของพี่ดีอยู่แล้วค่ะ

จากคุณ jip knw.6/12 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 48 เวลา 19:14:16

อยากให้มีรูปภาพช่วยในการอธิบายครับ

จากคุณ คนน่ารัก เมื่อวันที่ 4 กันยายน 48 เวลา 23:30:06

อยากให้มีรูปภาพช่วยในการอธิบายครับ



จากคุณ คนน่ารัก เมื่อวันที่ 4 กันยายน 48 เวลา 23:32:24


รูปภาพ (.gif และ .jpg เท่านั้น) :
คำตอบ :
  ชื่อ :

 

Copyright © 2002-3 All Rights Reserved.  King Mongkut's University of Technology Thonburi