บทความพลังงาน

ปิโตรเลียมไม่มีวันหมดไปจากโลก 
[ ตอบกระทู้นี้เพิ่ม คลิกที่นี่ ]

ปิโตรเลียมไม่มีวันหมดไปจากโลก

ปิโตรเลียมเหลวไม่มีวันหมดไปจากโลกนี้ เพราะเหตุว่าไม่สามารถมีกรรมวิธีใดสามารถผลิตปิโตรเลียมออกจากแหล่งได้ 100 % ถ้าเป็นก๊าซเมื่อใช้วิธีที่ดีที่สุด ลงทุนมากที่สุด อาจจะได้ผลถึง 80 % แต่ถ้าเป็นน้ำมันดิบ สูงสุดอาจจะผลิตได้เพียง 45 % ของปิโตรเลียมที่มีอยู่ในแหล่งเท่านั้น โลกจะใช้ปิโตรเลียมได้อีกนานแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปริมาณสำรองของปิโตรเลียมและราคาของปิโตรเลียมเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ อาจเป็น 50 ปี หรือ 100 ปีข้างหน้า คงไม่มีใครสามารถระบุได้ชัดเจนแต่ความจริงประการหนึ่งก็คือ โลกไม่สามารถจะหยุดใช้ปิโตรเลียมได้โดยทันที แต่จะค่อยๆ ลดการใช้ลง และท้ายที่สุดก็จะมีการใช้เพียงในประเทศที่มีแหล่งผลิตเท่านั้น

ปิโตรเลียมประกอบด้วย น้ำมัน (มีน้ำมันดิบและคอนเดนเสท) และก๊าซธรรมชาติเป็นส่วนสำคัญ ในอดีตเพื่อมุ่งหวังการผลิตเฉพาะแต่น้ำมัน โลกได้เผาทิ้งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล แต่ปัจจุบันก๊าซธรรมชาติมีความสำคัญเทียบเคียงได้กับน้ำมัน มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง และมีการซื้อขายกันระหว่างประเทศไปทั่วโลก ปริมาณสำรองของปิโตรเลียมคือ ตัวเลขสำคัญที่ระบุถึงโลกจะมีปิโตรีเลียมใช้ได้อีกนานเท่าไหร่และอัตราผลิตต่อปี ช่วยทำให้โลกทราบอย่างคร่าวๆ ว่าจะมีปิโตรเลียมใช้อีกนานแค่ไหน โดยเอาปริมาณสำรองเป็นตัวตั้ง หารด้วยอัตราผลิตต่อปี ผลลัพธ์ก็คือคำตอบเป็นจำนวนปี อย่างน้อยที่มีปิโตรเลียมใช้อยู่ ถ้าพิจารณาจากข้อมูลของบริษัทบีพีในปี 1975 อัตราส่วนระหว่างปริมาณสำรอง และอัตราผลิตต่อปีของน้ำมัน อยู่ที่ปริมาณ 35 ปี แต่ในปี 2001 กลับเพิ่มเป็น 40 ปีเศษ เช่นเดียวกัน ในกรณีของก๊าซธรรมชาติในปี 1975 อยู่ที่ตัวเลขประมาณ 52 ปี และสูงขึ้นเป็น 63 ปีในปี 2001 ทั้งที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อัตราการผลิตต่อปีเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดที่เป็นเช่นนี้เพราะมีการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่ใหม่ๆ และพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี ทำให้ต้นทุนการสำรวจและการผลิตลดลง ขณะเดียวกันปิโตรเลียมมีราคาจูงใจมากขึ้น ทำให้ปริมาณสำรองปิโตรเลียมในแหล่งที่มีอยู่แล้วประเมินใหม่มีค่าสูงขึ้น

สำหรับก๊าซธรรมชาติ ทั่วโลกมีการผลิตปีละ 2.5 ล้านๆ ลูกบาศก์เมตร หรือวันละ 6.751 พันล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีอดีตสหภาพโซเวียตและตะวันออกกลางเป็นแหล่งผลิตใหญ่ ยุโรปและเอเชียแปซิฟิกเป็นลูกค้าหลัก โลกบริโภคก๊าซธรรมชาติในปี 2001 เฉลี่ย 6.589 พันล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อวัน เทียบเท่ากับน้ำมัน 41.443 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของอัตราการบริโภคน้ำมันโลก แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการเติบโต ในช่วงปี 1991 – 2001 พบว่าก๊าซธรรมชาติเพิ่มมากกว่าน้ำมัน ที่ 19.8 % และ 13.5 % ตามลำดับแสดงถึงใกล้ช่วงเวลาเปลี่ยนถ่ายบทบาทนำจากน้ำมันสู่ก๊าซธรรมชาติแล้วเทียบเคียงได้กับการใช้พลังงานของประเทศไทย ที่ก๊าซธรรมชาติกำลังเข้ามาเป็นสัดส่วนหลักของการใช้พลังงานในอนาคต

พลังงานลม มีอัตราการเจริญเติบโตในการใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าสูงกว่ามาก จากปี 1992 ถึง 2001 โรงไฟฟ้าพลังลมทั่วโลกมีกำลังการผลิตติดตั้งจาก 2,510 เมกะวัตต์ เป็น 24,927 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า โดยประเทศผู้นำทางเทคโนโลยีทางด้านนี้ มีเพียง 5 ประเทศ ที่มีกำลังการผลิตรวมกันเป็นเกิน 80 % ของกำลังการผลิตรวมทั้งโลก ได้แก่เยอรมนี 35.0 % สหรัฐ 17.0 % สเปน 14.2 % เดนมาร์ก 9.9 % และอินเดีย 5.8 % แสดงถึงพื้นที่ศักยภาพของไฟฟ้าพลังลมที่ยังถูกใช้ยังมีอีกมากทั่วโลก และด้วยต้นทุนการผลิตที่ลดลง ใกล้เคียงกับการใช้น้ำมันและก๊าซมากขึ้น คาดว่าอัตราการเจริญเติบโตยังจะคงระดับนี้อยู่จนถึงทศวรรษหน้า

ชีวมวล ทั่วโลกมีกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 14,000 เมกะวัตต์ และคาดว่าในปี 2020 จะมีโรงไฟฟ้าชีวมวลมากถึง 30,000 เมกะวัตต์ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเขตป่าฝนซึ่งมีอัตราการผลิตของชีวมวลสูง เช่น ประเทศไทยไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพในปี 2000 มีกำลังผลิตติดตั้ง 7,974 เมกะวัตต์เพิ่มจาก 10 ปี ก่อนหน้านี้ 2,143 เมกะวัตต์โดยมีสัดส่วนที่สำคัญ ตามลำดับดังนี้ สหรัฐ 27.9 % ฟิลิปปินส์ 23.9 % อิตาลี 9.8 % อินโดนีเซีย 7.4 % ญี่ปุ่น 6.9 % นิวซีแลนด์ 5.5 % และที่สำคัญที่สุด ที่มีสัดส่วนมากที่สุดในบรรดาพลังงานหมุนเวียนทั้งมวลคือพลังงานน้ำ ในปี 2001 พลังงานน้ำคิดเป็นร้อยละ 6.5 ของปริมาณการใช้พลังงานปฐมภูมิ อันประกอบด้วย น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน นิวเคลียร์และพลังน้ำ รวมเทียบเท่ากับน้ำมันดิบ 9,124.8 ล้านตัน โดยมีลำดับประเทศผู้ผลิตที่ผลิตสูงสุด ดังนี้แคนาดา 12.6 % บราซิล 10.3 % จีน 9.8 % สหรัฐ 8.1 % รัสเซีย 6.7 % นอร์เวย์ 4.6 % และญี่ปุ่น 3.4 % ส่วนประเทศไทยมีสัดส่วนเพียง 0.2 % ของการผลิตทั้งโลก

ไฟฟ้าพลังน้ำ เริ่มมีการใช้นับตั้งแต่ปีทศวรรษที่ 18 ถึงปัจจุบันการใช้ยังคงมีเพียงร้อยละ 17 ของศักยภาพเท่านั้น ทั่วโลกใช้ไฟฟ้าพลังน้ำมากถึง 90 % ของแหล่งพลังงานหมุนเวียน มีกำลังผลิตติดตั้งประมาณ 675,000 เมกะวัตต์ และมีโครงการไฟฟ้าพลังนี้ขนาดใหญ่อีกกว่า 30,000 เมกะวัตต์ ที่กำลังดำเนินการอยู่ เช่น สามผา 18,200 เมกะวัตต์ ลองตัน 5,400 เมกะวัตต์ ในจีน ซาร์ดาร์ ซาโรวาร์ 1,450 เมกะวัตต์ ในอินเดีย บาคุน 2,400 เมกะวัตต์ในเวียดนาม และโลเวอร์ เชอร์วิล 2,000 เมกะวัตต์ ในแคนาดา เชื่อแน่ว่าในทศวรรษหน้า โลกก็จะยังมีการใช้ปิโตรเลียมอยู่ แต่การใช้อาจจะอยู่ในรูปของการผสมผสานมากขึ้น เช่น แก๊สโซฮอล์ ดีโอฮอล์หรือไบโอดีเซล ฯลฯ

จากคุณ Wit-Tha-Ya เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 47 เวลา 6:13:42

อยากถาม ว่าสถานีปลิตเอทานอลมีที่ใดบ้างในประเทสไทยค่ะ ช่วยตอบด้วยนะค่ะ ตอบมาที่ tongandpon@hunsa.com

จากคุณ ฉันไม่รู้จริงๆค่ะ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 47 เวลา 17:01:09


รูปภาพ (.gif และ .jpg เท่านั้น) :
คำตอบ :
  ชื่อ :

 

Copyright © 2002-3 All Rights Reserved.  King Mongkut's University of Technology Thonburi