บทความพลังงาน

ศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย 
[ ตอบกระทู้นี้เพิ่ม คลิกที่นี่ ]

ศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย

จากการศึกษาแผนที่ศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย ซึ่งจัดทำโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานพบว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านพลังงานลมบ้างแต่ค่อนข้างน้อย แม้ว่าพลังงานลมเป็นพลังงานค่อนข้างน้อย แม้ว่าพลังงานลมเป็นพลังงานค่อนข้าวงสะอาด แต่พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ยังคง พึ่งไม่ได้ ยกเว้นในพื้นที่ที่มีลมพัดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เนื่องจากการที่ความเร็วของกังหันลมมีความจำเป็นต้องมีไฟฟ้าตอบสนองความต้องการตลอดเวลา คุณค่าของลมสำหรับระบบไฟฟ้าจึงต่ำ และในหลายๆ กรณีจำเป็นต้องมีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองเผื่อไว้ในกรณีที่ไม่มีลม

สำหรับการใช้พลังงานลมในประเทศไทย ในการติดตั้งกังหันลมหรือกำลังลมเฉลี่ยทั้งปีควรไม่น้อยกว่าระดับ 3 (Class3) คือ 6.4-7.0 เมตร/วินาที หรือ 300-400 กิโลวัตต์/ตารางเมตร ที่ความสูง 50 เมตร เพื่อสามารถพัฒนากังหันลมผลิตไฟฟ้าได้ จากการสำรวจแหล่งที่มีความเร็วลมดังกล่าวอยู่ที่ภาคใต้บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เริ่มตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี และที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงปลายเดือนมีนาคม เป็นต้น

แต่การติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ด้วย นอกเหนือจากความเร็วของลม เช่น ลักษณะภูมิประเทศควรเป็นที่รายโล่งไม่มีสิ่งกีดขวาง และมีความเร็วลมโดยสม่ำเสมอ เป็นต้น เมื่อคำนึงถึงความไม่สม่ำเสมอของไฟฟ้าจากพลังงานลมแล้ว การลงทุนในกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทยในขณะนี้ จึงไม่มีความคุ้มทุนทางการเงิน การลงทุนจะเกิดขึ้นได้เฉพาะกรณีที่รัฐให้การสนับสนุนเป็นพิเศษด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม

สำหรับรัฐบาลโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และกฟผ.ได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องพลังงานลมให้ประชาชนรับทราบ และนับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา กฟผ. ได้ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนยื่นข้อเสนอในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม และขายไฟฟ้าและเข้าระบบให้แก่การไฟฟ้า ในรูปของการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ SPP โดยมีเงินสนับสนุนให้ก็ตาม ก็ยังไม่ปรากฏว่า มีเอกชนรายใดเสนอโครงการผลิตด้วยพลังงานลม อีกทั้งในปัจจุบันก็ยังมีการเปิดรับซื้ออยู่

ขณะที่ กฟผ. มีความเห็นว่าปัญหาเรื่องเทคนิคและการลลทุนไม่ใช่ประเด็นปัญหาที่สำคัญสุด แต่ปัญหาอยู่ที่ศักยภาพของลมมากกว่า ทั้งนี้ กฟผ. มีโครงการสาธิตการใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้า ขนาด 192 กิโลวัตต์ ตั้งอยู่ที่แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งจัดว่ามีลมแรงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ก็ยังมีความเร็วลมเฉลี่ย 5 เมตรต่อวินาที และไม่มีความสม่ำเสมอ ซึ่งแนวทางการพัฒนาในอนาคต จะเป็นการศึกษาเพื่อนำมาใช้ร่วมกับวิธีการผลิตไฟฟ้ารูปแบบอื่น เพื่อให้เกิดความมั่งคงเพิ่มขึ้น
ดังนั้น การที่กล่าวว่าประเทศไทยมีพลังงานอย่างเหลือเฟือ จึงเป็นความเข้าใจที่ผิด และหากจะพิจารณาในการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในประเทศไทย หลายฝ่ายยังมีความเห็นว่า มีความเป็นไปได้น้อยกว่าทางเลือกอื่นๆ เช่น พลังงานชีวมวล พลังน้ำขนาดเล็ก และพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ซึ่ง กฟผ. ก็พยายามนำพลังงานทางเลือกเหล่านี้ มาใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้ใช้ไฟฟ้ามากกเกินไป แม่ว่าจะมีปัญหาในเรื่องของต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหินก็ตาม

จากคุณ Wit-Tha-Ya เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 47 เวลา 7:01:15


รูปภาพ (.gif และ .jpg เท่านั้น) :
คำตอบ :
  ชื่อ :

 

Copyright © 2002-3 All Rights Reserved.  King Mongkut's University of Technology Thonburi