บทความพลังงาน

คนไทยร่วมใจประหยัดพลังงาน 
[ ตอบกระทู้นี้เพิ่ม คลิกที่นี่ ]

คนไทยร่วมใจประหยัดพลังงาน

อ่านข่าวช่วงนี้ เห็นว่าประเทศไทยยังจำเป็นต้องชดเชยราคาน้ำมัน เป็นจำนวนที่สูงถึงตอนนี้ เป็นเงินเกือบ 17,000 ล้านบาท จึงอยากทราบว่านโยบายของภาครัฐ ที่กำหนดมาตรการประหยัดพลังงานออกมานั้น แท้จริงแล้วได้ผลหรือไม่ และอย่างไร

ตอบ

ขณะนี้สถานการณ์ราคาน้ำมันแพงจะคลี่คลาย หรือราคาน้ำมันจะลดลงหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยากจะคาดการณ์ เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ทั้งเรื่องกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปค ปัญหาความขัดยังในตะวันออกกลาง และการเข้ามาเก็งกำไรของกลุ่ม Hedge Fund ที่ส่งผลให้เกิดความผันผวนของราคาน้ำมันในขณะนี้
ดังนั้น วันนี้การคาดหวังในสถานการณ์วิกฤตน้ำมันคลี่คลายจากปัจจัยภายนอก คงเป็นเรื่องยาก การแก้ปัญหาจำเป็นต้องเกิดขึ้นภายในประเทศเป็นหลักสำคัญ การใช้พลังงานอย่างประหยัด จึงถือเป็น "วาระแห่งชาติ" ที่ทุกคนต้องร่วมมือกันปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจัง

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2547 ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบ 5 มาตรการหลักในการประหยัดพลังงาน ตามข้อเสนอของกระทรวงพลังงาน และผลจากการดำเนินมาตรการดังกล่าว ขณะนี้เริ่มเห็นผลชัดเจน และมีความก้าวหน้าจากการดำเนินงานมากขึ้น ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถช่วยประเทศประหยัดพลังงานลงได้ ดังนี้

1. การขอความร่วมมือผู้ประกอบการปั๊มน้ำมัน ปิดสถานีตั้งแต่เวลา 24.00 - 05.00 น. โดยได้รับความร่วมมือจากปั๊มน้ำมันจำนวน 3,813 แห่ง ในการปิดปั๊ม หรือคิดเป็น 54% จากปั๊มน้ำมันทั่วประเทศจำนวน 7,015 แห่ง ทำให้สามารถลดการใช้น้ำมันลงได้ 5% คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้วันละ 100 ล้านบาท

2. การขอความร่วมมือผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาปิดไฟป้ายโฆษณา ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากสมาชิกสมาคมผู้ผลิตป้ายโฆษณา ในการปิดไฟส่องป้ายรวม 728 ป้าย จากป้ายทั้งหมดใน กทม. จำนวน 1,400 ป้าย และความร่วมมือจากบริษัท มาสด้า เซลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ร่วมปิดไฟบนป้ายโฆษณา (Bill Board) โดยคาดว่าจะประหยัดพลังงานได้ 400,000 บาท/ปี

3. เลือกปิดไฟบนถนนบางสายหรือบางช่วง ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดการใช้ไฟฟ้าประมาณ 10% หรือ 65 ล้านหน่วย/ปี เป็นเงินที่ประหยัดได้ประมาณ 170 ล้านบาท/ปี ปัจจุบันกรมทางหลวง ได้มีคำสั่งไปยังแขวงการทาง และสำนักบำรุงทาง เพื่อปิดไฟถนน ณ จุดต่างๆ แล้ว โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน

4. พิจารณาปรับเพิ่มอัตราภาษีป้ายวงกลม และภาษีป้ายทะเบียนรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเกิน 2,500 ซีซี ขณะนี้ได้มีการหารือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม กับกระทรวงการคลัง ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ พร้อมทั้งเตรียมกำหนดภาษีพิเศษสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงาน เช่นรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ รถที่ใช้ได้ทั้งน้ำมันและไฟฟ้า รถยนต์ NGV เป็นต้น กำหนดภาษีให้ต่ำกว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลธรรมดา

5. การประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นตัวอย่าง และเป็นผู้นำที่ดีในการประหยัดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทที่รับผิดชอบในการผลิตและส่งกระแสไฟฟ้าของประเทศ เนื่องจากไฟฟ้าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ภาระหน้าที่หลักจึงอยู่ที่การผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนทั่วประเทศ และประการสำคัญกระแสไฟฟ้าต้องมีคุณภาพมั่นคงเชื่อถือได้ ราคาไม่แพงและรับผิดชอบต่อสังคม

ระบบไฟฟ้าของ กฟผ. เป็นระบบขนาดใหญ่มีการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าไปทุกจังหวัดทั่วประเทศผ่านภูมิประเทศและผ่านพื้นที่ราษฎรที่มีอาชีพแตกต่างกันออกไป นอกจาก กฟผ.มีระบบสายส่งไฟฟ้าแล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ก็จำเป็นต้องมีระบบสายส่งไฟฟ้าเช่นกัน ซึ่งการไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งนี้จะรับพลังไฟฟ้าจาก กฟผ. และลดแรงดันไฟฟ้าให้ต่ำลงแล้วส่งผ่านสายส่งไฟฟ้าซึ่งโดยทั่วไปเสาส่งไฟฟ้าจะตั้งอยู่ริมถนนและในตัวเมืองทั่วประเทศ หลังจากนั้นจะลดแรงดันไฟฟ้าลงอีกครั้งเพื่อส่งไฟฟ้าจำหน่ายแก่ประชาชนโดยตรง

การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่งได้พยายามอย่างดีที่สุดในการดูแลแ ละรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบส่งและจ่ายกระแสไฟฟ้าให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ลดปัญหากระแสไฟฟ้าดับ เพราะปัญหาไฟฟ้าดับเป็นปัญหาสำคัญอย่างมากที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจรวมของประเทศ

แม้ว่าจะมีมาตรการในการป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับแล้วก็ตาม แต่หลายปีที่ผ่านมายังมีการเกิดไฟฟ้าดับอยู่บ่อยครั้ง โดยมีสาเหตุจากภายนอกที่การไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมเองได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากไฟฟ้าดับ ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถช่วยป้องกันได้โดยละเว้นการกระทำบางอย่างที่เป็นต้นเหตุของไฟฟ้าดับและช่วยกระทำในบางอย่างที่สามารถป้องกันไฟฟ้าดับ ดังได้สรุปสาเหตุต่างๆ ไว้ในเอกสารนี้

สาเหตุที่ทำให้ไฟฟ้าดับ

สาเหตุที่ทำให้ไฟฟ้าดับโดยไม่ได้อยู่ในแผนการดับไฟของการไฟฟ้าเพื่อซ่อมบำรุงรักษาหรือติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติม พอสรุปเป็นสาเหตุใหญ่ๆ ที่เป็นปัจจัยของการเกิดไฟฟ้าดับได้ดังนี้

1. สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม : อาจเกิดจากฝนตก พายุคะนอง ฟ้าผ่าลงสายส่งหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ต้นไม้ล้มทับสายส่งไฟฟ้า เสาไฟฟ้าล้มหรือสายไฟขาด หรือไฟป่าเหล่านี้เป็นต้น

2. เหตุขัดข้องทางด้านเทคนิค : มีสาเหตุด้วยกันหลายอย่างอาทิ ขัดข้องในส่วนระบบผลิตไฟฟ้าขัดข้องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าผิดปกติในระบบส่ง การลัดวงจรของระบบส่วไฟฟ้าเป็นต้น
3. เกิดจากสัตว์ต่างๆ : มีสัตว์อยู่หลายชนิดที่เป็นสาเหตุให้เกิดไฟฟ้าในสถานีไฟฟ้าแรงสูง นกต่างๆ บินเกาะอุปกรณ์ไฟฟ้า แมวหรือตุ๊กแกปีนขึ้นสู่อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เป็นต้น

ทั้ง 3 สาเหตุที่กล่าวมาแล้วนี้ทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างปกติ ดังนั้น กฟผ. กฟภ. และ กฟน. ได้พยายามแก้ไขและหามาตรการป้องกันข้อบกพร่องเพื่อลดการสูญเสียของระบบไฟฟ้าให้น้อยลงและพยายามอย่างดีที่สุดที่จะนำระบบกลับเข้าสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้มีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่องและเพียงพอ

4. ปัญหาไฟฟ้าดับที่เกิดจากการกระทำของคน : ปัญหาไฟฟ้าดับที่เกิดจากการกระทำของคนส่วนมากเกิดขึ้นเพราะความประมาท หรือความไม่รู้ ไม่เข้าใจในความสำคัญของไฟฟ้า อาทิเช่น การขับรถโดยประมาทจนเป็นสาเหตุให้เสาไฟฟ้าล้ม การใช้เครื่องจักรกลใกล้สายส่งไฟฟ้าอย่างขาดความระมัดระวัง การตัดต้นไม้ใกล้แนวสายไฟฟ้า การเผาไร่ใต้สายส่งไฟฟ้า เป็นต้น สาเหตุที่เกิดจากความไม่รู้ความไม่เข้าใจของประชาชนเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องสร้างความเข้าใจ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจจากประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าในการร่วมกันป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ อันเนื่องจากไฟฟ้าดับได้อีกทางหนึ่งด้วย

ซึ่งในวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงาน ได้มีการมอบโล่ห์ให้กับหน่วยงานที่มีผลประหยัดพลังงานดีเยี่ยม ประจำปีงบประมาณ 2546

สำหรับ 3 อันดับแรกของหน่วยงาน ที่สามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้สูงสุด คือ 1. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) 2. กรมควบคุมโรค และ 3. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ส่วน 3 อันดับแรกของหน่วยงานที่สามารถประหยัดการใช้น้ำมัน คือ 1. กรมประมง 2. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และ 3. สำนักงานปลัดกระทรงคมนาคม

แม้ว่ามาตรการดังกล่าว จะเป็นเพียงการขอความร่วมมือ แต่จะเห็นได้ว่า ทุกฝ่ายได้ให้ความร่วมมือที่จะช่วยกัน อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าภาครัฐจะออกมาตรการดีเพียงใด จะไม่สามารถสำเร็จลงได้ ถ้าปราศจากความร่วมมือของคนไทยทุกคน ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดในวันนี้ คือ การที่ทุกคนหันมาร่วมมือร่วมใจกัน ลดใช้พลังงานอย่างจริงจัง เพื่อช่วยทั้งเศรษฐกิจของตนเอง และของประเทศ
........................................

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
เบอร์ติดต่อ 0-2612-1555 ต่อ 503
ตู้ ปณ. 55, ปณฝ. งามวงศ์วาน กทม. 11001

จากคุณ Wit-Tha-Ya เมื่อวันที่ 3 กันยายน 47 เวลา 8:57:07


รูปภาพ (.gif และ .jpg เท่านั้น) :
คำตอบ :
  ชื่อ :

 

Copyright © 2002-3 All Rights Reserved.  King Mongkut's University of Technology Thonburi