บทความพลังงาน

แนวโน้มพลังงาน ไทย- โลก 
[ ตอบกระทู้นี้เพิ่ม คลิกที่นี่ ]

แนวโน้มพลังงาน ไทย- โลก

พลังงานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วโลก เป็นปัจจัยที่ทำให้โลกมีการพัฒนาขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ พลังงานได้เป็นสินค้าที่มีความเป็นสากล (International) มีการซื้อขายกันทั่วโลก ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ น้ำมันปิโตรเลียม และพลังงานประเภทอื่นซึ่งขนย้ายได้ยาก เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า ก็ได้มีการขยายเครือข่ายการขนส่ง ท่อ และสายส่งระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น ในยุโรป อเมริกา และ อาฟริกา ทำให้การค้าพลังงานระหว่างประเทศมีความสำคัญและมีการขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ

เนื่องจากพลังงานเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อทุกๆ อย่าง จึงมีความสำคัญต่อทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

อย่างไรก็ตามการจัดหาให้ได้พลังงานมา และการนำพลังงานไปใช้ ล้วนแต่ต้องอาศัยการลงทุนปริมาณมหาศาล ดังเช่น ทบวงพลังงานโลก หรือ IEA (International Energy Agency) ได้ประมาณการไว้ว่าในช่วงปี 2001-2030 โลกต้องลงทุนในกิจการพลังงานถึง 16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดยร้อยละ 60 (640 ล้านล้านบาท) ของการลงทุนดังกล่าวจะเป็นการลงทุนในกิจการไฟฟ้า ทั้งในส่วนของการผลิตไฟฟ้า และการสร้างสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า

โดยตัวเลขที่น่าสนในใจคือ ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย โดยเฉพาะ จีน อินเดีย และประเทศอาเซียน ซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เป็นกลุ่มประเทศที่ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยร้อยละ 32 ของความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในโลกจะมาจากภูมิภาคนี้ ที่สำคัญคือ ประชาชนและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต้องใช้ไฟฟ้า ดังนั้นทุกประเทศจึงจำเป็นต้องมีการลงทุนในกิจการไฟฟ้าให้เพียงพอ นั่นก็คือ ไม่ลงทุนไม่ได้ ซึ่งไฟฟ้าเป็นกิจการที่เป็น Capital Intensive การลงทุนจึงมีปริมาณมหาศาลในแต่ละปี

การจัดหากำลังการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอจึงเป็นภาระที่สำคัญของรัฐบาลของทุกประเทศต้องวางแผนในการดำเนินงานอย่างรอบคอบ เนื่องจากมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศโดยตรง
ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เนื่องจากกิจการไฟฟ้าเป็นกิจการที่อาศัยเงินลงทุนสูงมาก การเข้าหาแหล่งทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ประกอบกิจการไฟฟ้า ทั้งที่เป็นรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้า บริษัทไฟฟ้าแห่งชาติ บริษัทไฟฟ้าเอกชน และบริษัทไฟฟ้าข้ามชาติ ซึ่งผู้ประกอบการที่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนขนาดใหญ่ได้ในต้นทุนที่ต่ำ จะเป็นผู้มีความได้เปรียบในการลงทุน ทั้งทางด้านขนาดของกิจการที่จะลงทุน และต้นทุนที่ใช้ในการลงทุน กิจการไฟฟ้าจึงกลายเป็นกิจการที่มีการแข่งขันไร้พรมแดน ผู้ใดที่บริหารได้ต้นทุนต่ำสุดก็คือผู้ชนะ

ความได้เปรียบด้านลงทุนจะเป็นของบริษัทไฟฟ้าข้ามชาติ ซึ่งเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีเครือข่ายทางการเงินที่กว้างขวาง สามารถระดมทุนได้ในต้นทุนที่ต่ำ มีความทันสมัยด้านเทคโนโลยี และสามารถหาเครือข่ายพันธมิตรร่วมทุนได้ง่าย

สำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าเติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องมีการลงทุนปริมาณมหาศาล หากไม่สามารถหาเงินลงทุนได้มากเพียงพอ ก็จะต้องเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุน ซึ่งภาคเอกชนที่มีศักยภาพมากที่สุดทั้งทางด้านการเงิน และเทคโนโลยีก็คือ บริษัทไฟฟ้าข้ามชาติ (ของประเทศที่พัฒนาแล้ว) ที่ต้องการขยายการลงทุนนอกขอบเขตประเทศของตน ซึ่งเห็นได้ชัดจากตัวอย่างของหลายประเทศ เช่น อาร์เจนตินา และแม้แต่ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ก็มีบริษัทไฟฟ้าข้ามชาติเข้าไปดำเนินการหลายราย

สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียนั้น การจัดหาเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตไฟฟ้านั้น เป็นเรื่องสำคัญ ที่ทุกประเทศได้มีการดำเนินการ ทั้งการหาพันธมิตร การออกไปแสวงหาแหล่งพลังงานจากภายนอกประเทศ โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการจัดหาพลังงานของประเทศในภูมิภาคนี้ก็ คือ ประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ใช้พลังงานที่สำคัญในภูมิภาค

จีนเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และแน่นอนการใช้ไฟฟ้าก็ต้องมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วตามไปด้วย นอกจากอัตราเติบโตที่รวดเร็วแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุด คือ ขนาดของระบบเศรษฐกิจของประเทศจีน ซึ่งมีประชากรกว่าพันล้านคน ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจึงมหาศาล ซึ่งความมั่นคงด้านพลังงานเป็นสิ่งที่รัฐบาลจีนคำนึงถึงอย่างมาก เพราะต้องหาแหล่งเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ที่มั่นคง แต่เนื่องจากแหล่งพลังงานในภูมิภาคมีจำกัด ทุกประเทศจึงต้องแข่งขันกันในการจัดหาเชื้อเพลิงอย่างเลี่ยงไม่ได้

ทั้งการแข่งขันด้านการลงทุนและการจัดหาเชื้อเพลิง นั้น ผู้ที่จะชนะได้ต้องมีความแข่งแกร่งทางด้านเงินทุน และที่สำคัญคือต้องมีประสิทธิภาพ ซึ่งองค์กรนำด้านพลังงาน (หรือ National Champion) ของแต่ละประเทศจะต้องเป็นแกนหลักในการเข้าหาแหล่งทุนและแหล่งเชื้อเพลิง และแต่ละประเทศก็ต้องตัดสินใจว่าจะให้องค์กรนำด้านพลังงานของประเทศตนเป็นบริษัทไฟฟ้าแห่งชาติ หรือ บริษัทไฟฟ้าข้ามชาติของต่างประเทศ ซึ่งถ้าไม่ต้องการให้บริษัทไฟฟ้าข้ามชาติมาเป็นองค์กรนำด้านไฟฟ้าของประเทศ มีอิทธิพลครอบงำประเทศ ก็ต้องพัฒนาบริษัทไฟฟ้าแห่งชาติให้มีความแข่งแกร่งทางด้านเงินทุน และ ที่สำคัญต้องมีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถรักษาความมั่นคงด้านไฟฟ้าของประเทศ และออกไปแข่งขันนอกอาณาเขตประเทศตนได้

สำหรับประเทศไทยนั้น การที่กิจการไฟฟ้าของประเทศไทยจะสามารถดำเนินอยู่และเจริญเติบโตได้ในสภาวะของโลกซึ่งมีการแข่งขันด้านกิจการไฟฟ้าอย่างไร้พรมแดนนั้น ต้องมีการปรับตัวเองให้พร้อม “เมื่อโลกเปลี่ยน ถ้าเราไม่เปลี่ยน ก็ย่อมถูกกลืนเข้าไปในความเปลี่ยนแปลง ซึ่งสิ่งที่จะกลืนเรานั้นก็คือ ทุนข้ามชาติ ที่มีการเคลื่อนย้ายและลงทุนอย่างไร้พรมแดน” ทางเลือกของเราก็คือ จะโต้อยู่บนคลื่นแห่งความเปลี่ยนแปลง หรือ ถูกกลืนไปกับความเปลี่ยนแปลง

การเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจไทยนั้น ทำให้เราต้องมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งจะต้องมีการลงทุนปริมาณมหาศาลตามมาเพื่อรองรับความต้องการ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การที่จะได้มาซึ่งต้นทุนของเงินทุนที่ต่ำที่สุดนั้นเป็นปัจจัยสำคัญ (Key Factor) ปัจจัยแรกของกิจการไฟฟ้า ปัจจัยที่สองที่ตามมาก็คือ การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของตัวเองให้เทียบระดับสากล


ที่มา* กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน

จากคุณ Wit-Tha-Ya เมื่อวันที่ 3 กันยายน 47 เวลา 9:21:57

123456789



จากคุณ 55+ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 48 เวลา 13:36:00


รูปภาพ (.gif และ .jpg เท่านั้น) :
คำตอบ :
  ชื่อ :

 

Copyright © 2002-3 All Rights Reserved.  King Mongkut's University of Technology Thonburi