เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า
บทนำการเลือกซื้อและใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
เทคโนโลยีของเครื่องใช้ไฟฟ้าในอดีต มุ่งตอบสนองผู้บริโภคให้ได้รับความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต ด้วยพัฒนาการในการลดความเหนื่อยยาก ในการับรู้ข่าวสารในด้านความรวดเร็วในการเดินทาง ในการติดต่อสื่อสาร ในการเพิ่มความปลอดภัย ในการเพิ่มผลผลิตในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบและผลิตในอดีตยังไม่ได้เผื่อปัญหาและวิกฤติการณ์ทางด้านพลังงานไว้มากมายนัก การออกแบบจึงยังไม่ได้มุ่งที่การใช้ หรือพึ่งพาพลังงานให้น้อยลง ขณะที่มีการออกแบบเป็นช่วงเวลาของการค้นพบและแปรรูปสินแร่ และวัตถุดิบจากแหล่งธรรมชาติมีการขยายตัวต่อเนื่องทำให้การผลิตเครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ใช้วัสดุและวัตถุดิบมากมีขนาดใหญ่และขาดประสิทธิภาพ เช่น รถยนต์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ผู้ผลิตได้ออกแบบและพัฒนาให้เครื่องใช้ไฟฟ้าปัจจุบันให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น และมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูงกว่าในอดีต เครื่องใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันจึงประหยัดทั้งเวลาและพลังงาน เครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ล่าสุดจะมีราคาแพงกว่าเมื่อแรกซื้อ แต่ต่อมาหลังการใช้งานในระยะเวลาหนึ่งมักจะพบว่าค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใชังานของเครื่องไฟฟ้านั้น ๆ ถูกลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นก่อนหน้านี้ เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดนับแต่การซื้อ และค่าไฟฟ้าตลอดอายุการใช้งาน พบว่าแต่ละเดือน แต่ละปี ของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
"เมื่อพิจารณาจากอายุการใช้งาน ความถี่ในการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ ศักยภาพในการประหยัดค่าใช้จ่ายของเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ อาจจะเป็นเหตุจูงใจให้ตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหมาะสมช่วยลดการใช้พลังงานและเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม"
การเลือกซื้อตู้เย็น
1. เลือกซื้อตู้เย็นที่มีขนาดสอดคล้องกับความต้องการของครอบครัว กรณีที่เคยใช้ตู้เย็นมาก่อน ขนาดตู้เดิมจะเป็นพื้นฐานที่จะตอบคำถามได้ว่าตู้เย็นหลังใหม่ควรมีขนาดเท่าใด กี่ลูกบาศก์ฟุต ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเก็บของในตู้เย็นจะช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ตู้เย็นขนาดใหญ่ลงได้ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเป็นสัดส่วนโดยตรงกับขนาดของตู้เย็น
2. ตู้เย็นที่มีการละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ จะใช้พลังงานมากกว่าตู้เย็นที่ละลายน้ำแข็งด้วยการกดปุ่ม
3. ตู้เย็นที่มีเครื่องทำน้ำดื่มและน้ำแข็ง ที่สามารถรองรับน้ำดื่มและน้ำแข็งไม่ต้องเปิดประตูตู้เย็นบ่อยครั้ง และช่วยทำให้อุณหภูมิของพื้นที่ทำความเย็นคงที่สม่ำเสมอ แต่ขณะเดียวกันตู้เย็นชนิดนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าตู้เย็นที่ไม่มีเครื่องทำน้ำเย็นและน้ำแข็ง
4. ตู้เย็นเบอร์ 5 มีประสิทธิภาพพลังงานมากกว่าตู้เย็นเบอร์ 4,3 และเบอร์อื่น ๆ ที่น้อยกว่า เลือกซื้อตู้เย็นที่ไม่ใช้สารประกอบ CFC ในการทำความเย็น เพื่อลดผลกระทบต่อชั้นโอโซนในบรรยากาศ
5. เลือกซื้อตู้เย็นที่มีฉนวนโดยรอบหนา หรือมีฉนวนป้องกันการสูญเสียความเย็นที่มีประสิทธิภาพ
6. เลือกซื้อตู้เย็นสีอ่อน จะทำให้การสะท้อนแสงภายในห้องที่ติดตั้งตู้เย็นดีขึ้น ช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้หลอดแสงสว่างมาก
การใช้ตู้เย็น
1. เลือกติดตั้งตู้เย็นในที่ที่เหมาะสม ไม่ถูกแสงแดด ไม่อยู่ใกล้เตาประกอบหรือหุงต้ม อาหารทุกชนิด อยู่ห่างจากผนังโดยรอบพอสมควร เพื่อความสะดวกในการทำความสะอาดและระบายความร้อนของตู้เย็น
2. ตู้เย็นที่บรรจุของเต็มจะใช้พลังงานน้อยกว่าตู้เย็นที่ว่างเปล่าหรือไม่เต็ม ของที่แช่อยู่ในช่องแช่แข็งที่เต็มจะช่วยทำให้อุณหภูมิของตู้เย็นกลับสูงสภาวะปกติได้เร็วภายหลังจากการเปิดประตูตู้เย็นแต่ละครั้ง
3. จัดการกับตู้เย็นเก่า ภายหลังจากการติดตั้งตู้เย็นประสิทธิภาพพลังงานหลังใหม่แล้วอย่างเหมาะสม การเก็บรักษาและใช้ตู้เย็นเก่าที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นตู้เย็นสำรอง จะทำให้การใช้ตู้เย็นใหม่ที่มีประสิทธิภาพไม่ได้ช่วยลดการใช้พลังงานใด ๆ เพียงแต่ช่วยเพิ่มเนื้อที่ในการเก็บมากขึ้นเท่านั้น
4. การดูดฝุ่นทำความสะอาดด้านหลังตู้เย็นสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตู้เย็นได้มาก
5. ตรวจสอบและทำความสะอาดยางขอบประตูตู้เย็นสม่ำเสมอ และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีปิดได้สนิท ทดสอบโดยใช้ธนบัตรหรือกระดาษวางในตำแหน่งต่าง ๆ ระหว่างยางขอบประตูกับตู้เย็นแล้วปิดประตูตู้เย็น จากนั้นค่อย ๆ ดึงธนบัตรหรือกระดาษออก ถ้าดึงออกได้โดยง่ายแสดงว่าความเย็นภายในตู้เย็น การปรับตั้งประตูหรือยางขอบประตู อาจช่วยให้การรั่วไหลของความเย็นลดลงได้
6. คลุมอาหารหรือของที่แช่ในตู้เย็นที่มีความชื้นก่อนแช่ในตู้เย็นอาหารเปียกชื้นจะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักขึ้น
7. หมั่นละลายน้ำแข็งสม่ำเสมอ เมื่อมีการสะสมน้ำแข็งมากเกินกว่าเครื่องหมายแสดงในตู้เย็น (ปุ่มแดง หรือสัญลักษณ์อื่น)
8. ปล่อยให้อาหารร้อนเย็นตัวลงภายนอกตู้เย็น ก่อนนำเข้าเก็บไว้ในตู้เย็น
9. ตรวจสอบและติดตั้งการทำความเย็นของตู้เย็นให้อยู่ที่ระดับเหมาะสม คือในพื้นที่แช่เย็นทั่วไปที่อุณหภูมิ 3-5 องศาเซลเซียส และที่ช่องแช่เข็งที่อุณหภูมิ - 10 ถึง- 15 องศาเซลเซียส การตรวจวัดอาจต้องใช้เทอร์โมมิเตอร์เนื่องจากตู้เย็นโดยทั่วไปจะไม่บอกอุณหภูมิภายในตู้เย็น
10. เก็บสิ่งของหรืออาหารที่ต้องการใช้บ่อยในพื้นที่ใกล้มือภายในตู้เย็น เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้ และการแสดงชื่อหรือเครื่องหมายบนอาหารที่เก็บในตู้เย็นอย่างชัดเจนและหาง่ายจะช่วยลดเวลาในการเปิดหาของในตู้เย็น
เลือกใช้เตาหุงต้มก๊าซแทนการใช้เตาหุงต้มชนิดใช้ไฟฟ้า
เลือกใช้เตาหุงต้มก๊าซแทนการใช้เตาหุงต้มชนิดใช้ไฟฟ้า เนื่องจากเตาหุงต้มก๊าซจะช่วยควบคุมความร้อนระดับต่าง ๆ สำหรับการหุงต้ม ลักษณะต่างๆ ได้ดีกว่าเตาหุงต้มไฟฟ้านอกจากนี้เตาหุงต้มก๊าซยังมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูงกว่าเตาหุงต้มไฟฟ้า
เตาหุงต้มชนิดใช้ไฟฟ้ามี 2 ลักษณะ คือ เตาที่เป็นจานโลหะนำความร้อนแนบทึบ (Solid Disk Element) และขดลวดโลหะนำความร้อน (Electric Coil)
เตาหุงต้มชนิดใช้ไฟฟ้ามี 2 ลักษณะ คือ เตาที่เป็นจานโลหะนำความร้อนแนบทึบ (Solid Disk Element) และขดลวดโลหะนำความร้อน (Electric Coil) ชนิดแรกเป็นที่นิยมใช้กันมากในยุโรป เนื่องจากความดึงดูดใจและทำความสะอาดได้ง่ายกว่าเตาหุงต้มไฟฟ้าชนิดขดลวด ถึงแม้เตาแบบจานทึบจะร้อนช้ากว่าและใช้พลังงานมากว่าเตาหุงต้มชนิดขดลวด แต่เตาแบบจานทึบจะมีพื้นผิวสัมผัสกับภาชนะหุงต้มมากและดีกว่า ทำให้รักษาระดับความร้อนได้นาน ซึ่งจะช่วยให้การหุงต้มใช้พลังงานน้อยกว่า สำหรับภาชนะหุงต้มที่มีก้นกลมจะมีประสิทธิภาพในการหุงต้มน้อยลงและใช้พลังงานมากขึ้น
เตาหุงต้มชนิดหัวเตานำความร้อนใต้แผ่นแก้วเซรามิก (Radiant Element Under Ceramic Glass) แผ่นแก้วเซรามิกที่เรียบจะทำความสะอาดได้โดยง่าย ร้อนเร็วกว่าเตาแบบจานทึบ
เตาหุงต้มชนิดหัวเตานำความร้อนใต้แผ่นแก้วเซรามิก (Radiant Element Under Ceramic Glass) แผ่นแก้วเซรามิกที่เรียบจะทำความสะอาดได้โดยง่าย ร้อนเร็วกว่าเตาแบบจานทึบ แต่ยังช้ากว่าเตาชนิดขดลวด
"เตาที่มีหัวเตานำความร้อนอยู่ใต้แผ่นแก้วเซรามิกมีประสิทธิภาพพลังงานสูงกว่า เตาชนิดขดลวดและเตาแบบจานทึบภาชนะหุงต้มสำหรับเตาชนิดนี้จะต้องมีก้นแบนเพราะจะมีพื้นที่ผิวสัมผัสมาก"
เตาหุงต้มชนิดใช้หลอดฮาโลเจน (Halogen Elements) เป็นเตาหุงต้มชนิดใหม่ที่ใช้ หลอดฮาโลเจนเป็นแหล่งให้ความร้อนผ่านผิวแก้ว หลอดฮาโลเจนให้ความร้อนเร็วและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในการหุงต้มได้รวดเร็ว
เตาหุงต้มชนิดใช้หลอดฮาโลเจน (Halogen Elements) เป็นเตาหุงต้มชนิดใหม่ที่ใช้ หลอดฮาโลเจนเป็นแหล่งให้ความร้อนผ่านผิวแก้ว หลอดฮาโลเจนให้ความร้อนเร็วและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในการหุงต้มได้รวดเร็ว การหุงต้มกับเตาชนิดนี้ภาชนะหุงต้มจำเป็นต้องมีก้นเรียบ เช่นเดียวกับเตาหุงต้มชนิดหัวนำความร้อนใต้แผ่นแก้วเซรามิก เนื่องจากพื้นผิวสัมผัสจะช่วยให้มีการนำความร้อนที่ดี ดังนั้นประสิทธิภาพในการให้ความร้อนจะใกล้เคียงกับเตาชนิดหัวเตาอยู่ใต้แผ่นแก้วเซรามิก เพียงแต่เตาชนิดหลอดฮาโลเจนให้ความร้อนที่เร็วกว่านั้น
เตาหุงต้มชนิดเหนี่ยวนำพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (Inducter Elements) เป็นเตาหุง ต้มชนิดใหม่ล่าสุด
เตาหุงต้มชนิดเหนี่ยวนำพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (Inducter Elements) เป็นเตาหุง ต้มชนิดใหม่ล่าสุด หัสเตาชนิดนี้ส่งถ่ายคลื่นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy) ไปยังภาชนะหุงต้มโดยตรง เป็นผลให้เตาชนิดนี้มีประสิทธิภาพพลังงานสูงมาก โดยใช้พลังงานน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเตาหุงต้มไฟฟ้าชนิดขดลวด
ข้อจำกัดของเตาชนิดนี้ คือ ภาชนะหุงต้มต้องเป็นเหล็กสแตนเลสหรือ เหล็กเคลือบเท่านั้น ภาชนะที่ทำด้วยโลหะอื่น เช่นอลูมินัมจะไม่สามารถใช้ได้ ทันทีที่มีการเคลื่อนย้ายภาชนะออกจากหัวเตาการให้ความร้อนแทนจะหยุดในทันที เตาหุงต้มชนิดนี้มีวางจำหน่ายในราคาค่อนข้างสูง และยังไม่สามารถบอกได้ว่าการประหยัดพลังงานจากการใช้เตาชนิดนี้จะคุ้มทนในเวลายาวนานเท่าไร
เตาอบชนิดที่มีการเป่าและหมุนเวียนอากาศร้อน (Convection Oven) มีประสิทธิ ภาพพลังงานกว่าเตาอบทั่วไป
เตาอบชนิดที่มีการเป่าและหมุนเวียนอากาศร้อน (Convection Oven) มีประสิทธิ ภาพพลังงานกว่าเตาอบทั่วไป เนื่องจากอากาศร้อนจะหมุนเวียนถ่ายเทโดยรอบอาหารที่ต้องการได้อย่างทั่วถึง มีการกระจายความร้อนได้ดีกว่า ซึ่งจะทำให้ใช้เวลาในการประกอบอาหารสั้นลง และที่อุณหภูมิต่ำกว่า โดยทั่วไปการประกอบอาหารด้วยเตาอบชนิดที่มีการหมุนเวียนอากาศร้อน จะประหยัดพลังงานได้ถึงหนึ่งในสาม
การหุงต้มที่มีประสิทธิภาพ
1. การใช้น้ำเย็นในการชำระล้างภาชนะแทนการใช้น้ำร้อน จะช่วยลดการใช้พลังงานใน การทำน้ำให้ร้อน เมื่อต้องการล้างภาชนะหุงต้ม หรือภารชนะรองรับอาหาร ซึ่งการล้างด้วยน้ำเย็นจะสามารถกำจัดคราบไขมันได้ดีกว่าการล้างด้วยน้ำร้อน ไขมันจะจับตัวกันได้ดีในน้ำเย็นและสามารถล้างออกได้โดยง่าย
2. เมื่อมีการต้มของเหลวทุกชนิด ควรปิดฝาภาชนะหุงต้มให้มิดชิด
3. เลือกใช้กระทะหรือหม้อไฟฟ้าขนาดเล็ก สำหรับการหุงต้มปริมาณน้อยแทนการใช้ หัวเตาหุงต้มที่มีขนาดใหญ่
4. เมื่อหุงต้มถังเตาก๊าซไม่ควรปล่อยให้มีเปลวไฟลุกสูงเกินความจำเป็น
5. เมื่อมีการใช้เตาอบ ควรอบอาหารหลายอย่างพร้อมกัน เตรียมเตาอบในช่วงเวลาไม่เกิน 5 นาที และปิดเตาอบ 10 นาทีล่วงหน้าเพื่อให้ความร้อนที่สะสมในเตาอบช่วยทำให้อาหารสุกตามต้องการ
6. รักษาความสะอาดบริเวณหัวเตาและพื้นผิวสัมผัสกับภาชนะหุงต้ม เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพพลังงานสูงสุด
7. เลือกภาชนะหุงต้มที่สอดคล้องกับขนาดของหัวเตา ในการหุงต้มอาหาร
8. เลือกใช้เตาอบไมโครเวฟให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยเฉพาะปริมาณไม่มากและต้องการความรวดเร็ว เช่น การอุ่นอาหาร ต้มเดือนปริมาณน้อย ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานได้มาก |
จากคุณ Wit-Tha-Ya
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 47
เวลา 0:19:51
|
|
|