บทความพลังงาน

วัสดุเหลือใช้...ภาคเกษตรกรรมจุดกำเนิดไฟฟ้าพลังงานชีวมวล 
[ ตอบกระทู้นี้เพิ่ม คลิกที่นี่ ]

วัสดุเหลือใช้...ภาคเกษตรกรรมจุดกำเนิดไฟฟ้าพลังงานชีวมวล

รัฐบาลทุกรัฐบาลที่เข้ามาทำหน้าที่ ดูแลประชาชนในประเทศ มีภาระที่หนักหน่วงคือ การจัดสร้างแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ให้เพียงพอต่อความต้องการ ของพลเมือง
ประเทศไทย ต้องสั่งซื้อน้ำมัน จากต่างประเทศ มาใช้เป็นเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า ณ ปัจจุบัน ภาวะของน้ำมันซึ่งเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วประเทศ แพงขึ้นทุกวัน
ต้องใช้เงินทุน ของประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท ไปจัดซื้อน้ำมันมาใช้!!!

วัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรกรรมในประเทศไทย จำพวกแกลบ, ฟางข้าว, ปาล์ม, มะพร้าว, ชานอ้อย, ซังข้าวโพด, เศษไม้และมูลสัตว์ ส่วนใหญ่เกษตรกรนำมาใช้เป็นปุ๋ยสำหรับการเพาะปลูก
เฉพาะ "ชานอ้อยเหลือทิ้งปีละ 13 ล้านตัน แกลบปีละ 5 ล้านตัน และเหง้ามันสำปะหลัง 1.7 ล้านตัน" เกษตรกรทำนา มักเผาฟางข้าวทิ้ง หลังเก็บเกี่ยวกลายเป็นม่านควัน ทำให้เกิดเหตุรถชนกันหลายครั้งหลายหน วัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรกรรมทุกวันนี้ ยังไม่มีการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างจริงจัง ทั้งที่ของเหลือใช้พวกนี้คือพลังงานชีวมวล!!!

นายวีระพล จิรประดิษฐ์กุล รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน (สนพ.) หรือ EPPO เผยว่า พลังงานชีวมวล (BIOMAS) หรือไบโอแมส คือพลังงานหมุนเวียน ที่ไม่มีวันหมด เป็นพลังงานที่ยั่งยืน และสำคัญของประเทศไทย เชื้อเพลิงชีวมวล หรือไบโอแมส ได้มาจากวัสดุเหลือใช้ ทางด้านการเกษตร มีมากตามลักษณะ ของการกสิกรรมในภาคต่างๆ มีการผลิตขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

ไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลนี้ "ไม่เป็นภัยต่อชีวิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" ไม่ทำให้เกิดการสะสมของ CO2 ในบรรยากาศ เพราะมีความสมดุลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไม่เพิ่มก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย
รัฐบาลหันมาเล็งการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลโดยเป็น "โครงการส่งเสริมผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กไว้ใช้เอง" ในอุตสาหกรรม และเมื่อเหลือใช้ก็ให้นำมาขายให้กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่มีนายสิทธิพร รัตโนภาส เป็นผู้ว่าการฯ

โครงการนี้ มีผู้เข้าร่วมสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลแล้ว 31 แห่ง แบ่งเป็นใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง 12 แห่ง ชานอ้อย 7 แห่ง ชานอ้อยผสมเชื้อเพลิงอื่น 2 แห่ง เหง้ามันสำปะหลัง 1 แห่ง เปลือกไม้ผสมกะลาปาล์ม 1 แห่ง น้ำมันยางดำ 1แห่ง อีก 3 แห่งที่เหลือ เป็นไฟฟ้าชีวมวลจากพลังน้ำ

โฟกัสไปที่โรงไฟฟ้าที่ ต.ลำภูรา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ซึ่งบริษัทกัลฟ์อิเลคตริก เป็นเจ้าของโครงการฯจะใช้เศษไม้ยางพารา และกะลาปาล์มเป็นเชื้อเพลิง จะทำให้ชาวสวนยางและชาวสวนปาล์มในพื้นที่ อ.ห้วยยอด ขายเศษไม้ยางพาราที่เหลือทิ้งพวกนี้ ในราคาสูงถึงตันละ 250 บาท ส่วนกะลาปาล์ม ราคาก็จะขึ้นอยู่ที่ฤดูกาลว่าจะมีเหลือมากน้อยแค่ไหน

ต่อไปนี้ เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นจากสิ่งเหลือใช้ภาคเกษตรกรรม...

ประเทศชาติได้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น...คนไทยได้เลิกตกเป็นทาสน้ำมันต่างชาติตลอดไป.

ไชยรัตน์ ส้มฉุน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ11 มิถุนายน2546

จากคุณ Wit-Tha-Ya เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 47 เวลา 0:33:43


รูปภาพ (.gif และ .jpg เท่านั้น) :
คำตอบ :
  ชื่อ :

 

Copyright © 2002-3 All Rights Reserved.  King Mongkut's University of Technology Thonburi