เปิดแล้ววันนี้ !!! ธนาคารขยะรีไซเคิล

ธนาคารขยะรีไซเคิลแห่งแรกและแห่งเดียวในมจธ. รับสมัครสมาชิกทั้งบุคลากร พนักงาน เจ้าหน้าที่ อาจารย์และนักศึกษาภายในมจธ. โดยธนาคารจะเปิดทำการทุกวันพฤหัสบดี เวลา 10.30 - 12.30 น. เริ่มเปิดทำการวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 ท่านผู้ที่สนใจจะสมัครเป็นสมาชิกสามารถสมัครได้ที่ธนาคารขยะรีไซเคิล ข้างสนามฟุตบอล มจธ.เยื้องกับตึกคณะศิลปศาสตร์ประมาณ 100 เมตร อย่าลืม..ธนาคารเปิดเฉพาะวันพฤหัสบดีเท่านั้นนะ !

 

 

 

 

 

 


ธนาคารขยะ

(Recyclable Waste Bank)

 

                ธนาคารขยะขยะรีไซเคิล (Recyclable Waste Bank) คือ องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการซื้อขายขยะรีไซเคิลในสถานศึกษาหรือ   ชุมชน โดยรายได้ที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกลงบนสมุดคู่ฝากของสมาชิก ซึ่งสามารถฝากหรือถอนได้ในลักษณะเดียวกับธนาคารพาณิชย์ โดยขยะรีไซเคิลที่สมาชิกนำมาฝากกับธนาคารขยะจะถูกเก็บรวบรวมและแยกออกเป็นแต่ละประเภท และจำหน่ายให้กับร้านรับซื้อของเก่าเพื่อนำไปขายต่อให้โรงงานที่ต้องการใช้ขยะรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต

 

วัตถุประสงค์การจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล

1.        เพื่อจัดตั้งศูนย์การแลกเปลี่ยนวัสดุรีไซเคิล ภายใน มจธ. โดยใช้ระบบธนาคารพาณิชย์

2.        เพื่อสนับสนุนให้เกิดการคัดแยกขยะนำกลับมาใช้ได้ออกจากขยะประเภทอื่น อันเป็นการลดปริมาณของเสียก่อนนำไปกำจัด

3.        เพื่อเป็นศูนย์กลางความรู้ด้านการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

 

การบริหารจัดการธนาคารขยะ

                การบริหารจัดการธนาคารขยะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้แบ่งการบริหารจัดการออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายขาย และฝ่ายบริหารงานทั่วไป รูปที่ 3.1 แสดงแผนผังองค์กรของธนาคารขยะ ซึ่งในแต่ละฝ่ายมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

EESH

 
 

 

 

กล่องข้อความ: ฝ่ายบัญชีและการเงิน
1. งานบริการนำฝาก-ถอน
2. งานบัญชีซื้อขายขยะ


กล่องข้อความ: ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
1. เก็บข้อมูลสมาชิก-พนักงาน
2. งานประชาสัมพันธ์
กล่องข้อความ: ฝ่ายขาย
1. งานตรวจสอบคุณลักษณะขยะ
2. งานชั่งวัดน้ำหนักขยะและจัดเก็บ
3. งานกำหนดราคาซื้อขายขยะ
กล่องข้อความ: ผู้จัดการธนาคารขยะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 


รูปที่ 3.1 แสดงแผนผังองค์กรของธนาคารขยะ

(1)      ผู้จัดการธนาคารขยะ

ผู้จัดการธนาคารขยะมีบทบาทหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายต่างๆ และสรุปผลการดำเนินการ

                ของธนาคารขยะส่งให้ศูนย์ EESH ทุกเดือน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการออกนโยบายเพื่อการพัฒนาการบริหาร

                จัดการต่อไป

 

(2)      ฝ่ายบัญชีและการเงิน

ฝ่ายบัญชีและการเงินมีบทบาทหน้าที่ให้บริการแก่สมาชิกของธนาคารในการฝากขยะหรือถอนเงินจากบัญชีและมีหน้าที่สรุปผลการประกอบการของธนาคารประจำวันและประจำเดือนส่งให้ผู้จัดการธนาคารขยะพิจารณา

 

(3)      ฝ่ายขาย

ฝ่ายขายมีบทบาทหน้าที่ในการตั้งราคาซื้อขายขยะประจำเดือนโดยการตั้งราคาจะอ้างอิงตามราคาตลาด นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ตรวจสอบคุณลักษณะของขยะ และชั่งน้ำหนักขยะที่สมาชิกนำมาฝากรวมถึงการติดต่อร้านรับซื้อของเก่าเพื่อ    ตกลงการซื้อขายขยะในแต่ละเดือน

 

(4)      ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีบทบาทหน้าที่ในการรับสมัครสมาชิกและเก็บรวบรวมข้อมูลของสมาชิก และเจ้าหน้าที่ของธนาคารตลอดจนรวบรวมข้อมูลด้านการจัดการขยะจากหน่วยงานต่างๆเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาองค์กร รวมทั้งใช้ในการผลิตสื่อด้านต่างๆเพื่อดึงดูดให้นักศึกษา บุคลากรหน่วยงานของมหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไปให้ความสำคัญกับการจัดการขยะและเข้ามาใช้บริการของธนาคาร

               

การดำเนินงานของธนาคารขยะ

การดำเนินงานธนาคารขยะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการสมัครเป็นสามาชิกธนาคารขยะ, ขั้นตอนการฝาก ขั้นตอนการถอน และขั้นตอนการซื้อขายขยะให้กับร้านรับซื้อของเก่า

 

(1) การสมัครสมาชิก

                   ขั้นตอนการสมัครสมาชิกธนาคารขยะเป็นแบบ One Stop Service  โดยนักศึกษา บุคลากร หน่วยงานของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกของธนาคารขยะสามารถสมัครเป็นสมาชิกได้เบ็ดเสร็จที่จุดรับสมัครสมาชิกใหม่ของฝ่ายบริหารงานทั่วไป โดยขั้นตอนการสมัครเริ่มจากกรอกใบสมัครสมาชิกตามแบบฟอร์มที่RB-01 และยื่นแบบฟอร์มที่กรอกอย่างสมบูรณ์พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน เจ้าหน้าที่ประจำจุดรับสมัครสมาชิกใหม่จะออกรหัสสมาชิกและสมุดคู่ฝากให้แก่ผู้สมัครภายหลังจากผ่านการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเอกสารที่ยื่นแล้ว

 

 

 

 


เอกสารประกอบการสมัคร

1. ใบสมัครสมาชิกธนาคารขยะ (แบบฟอร์มที่ RB-01)

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3. สำเนาทะเบียนบ้าน

 

ข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับสมาชิกธนาคารขยะ

1.  โปรดนำสมุดคู่ฝากไปทุกครั้งที่ติดต่อกับธนาคาร  

2.  ยอดคงเหลือในสมุดคู่ฝากนี้ จะต้องตรงกับยอดบัญชีของธนาคาร

3.  สิทธิ์ตามบัญชีเงินฝากนี้ไม่สามารถนำไปโอน หรือนำไปเป็นหลักประกันแก่บุคคลอื่น เว้นแต่จะ 

     ได้รับความยินยอมจากธนาคาร

4.  ยอดคงเหลือในสมุดคู่ฝากจะต้องมียอดไม่ต่ำกว่า 100 บาท

5.  การนำฝากทุกครั้ง จะต้องมียอดฝากไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัม

6.  เปิดบัญชีครั้งแรก ต้องมียอดฝากไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัม และสามารถถอนเงินได้ในครั้งถัดไป

7.  การบันทึกข้อมูลใดๆลงในสมุดคู่ฝากเป็นหน้าที่ของพนักงานฝ่ายบัญชีและการเงินของธนาคาร

     ขยะ มจธ.เท่านั้น ห้ามสมาชิกหรือพนักงานฝ่ายอื่นของธนาคารขยะหรือบุคคลอื่นๆบันทึกข้อมูล

     ใดๆลงในสมุดคู่ฝากโดยเด็ดขาด การบันทึกข้อมูลหรือลายลักษณ์อักษรใดๆลงในสมุดคู่ฝากโดย

     ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายบัญชีและการเงินถือเป็นความผิด ผู้ถือสมุดคู่ฝากดังกล่าวจะถูกเพิก

      ถอนสิทธิการเป็นสมาชิกของธนาคารขยะ มจธ.

 

(2) ขั้นตอนการนำฝาก

สมาชิกสามารถนำฝากขยะกับธนาคารขยะได้ โดยกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่ RB-02 จากนั้นนำแบบฟอร์มไปยื่น ณ จุดตรวจสอบคุณลักษณะขยะและจุดชั่งน้ำหนักของฝ่ายขายตามลำดับ เพื่อรับการตรวจสอบคุณลักษณะของขยะก่อนนำขยะไปชั่งน้ำหนัก จากนั้นนำสมุดคู่ฝากและแบบฟอร์มที่ RB-02 ซึ่งมีรายเซ็นรับรองของพนักงานตรวจสอบคุณลักษณะขยะ และพนักงานชั่งน้ำหนักขยะมาฝากเข้าบัญชีที่จุดฝาก-ถอนของฝ่ายบัญชีและการเงิน ทั้งนี้ในการนำฝากขยะสมาชิกจะต้องนำฝากขยะอย่างน้อย 1 ชนิดต่อครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 1 กิโลกรัม

 

กรอกใบนำฝาก

ตามแบบฟอร์มที่ RB-02

 
 

 


หมายเหตุ:  สมาชิกธนาคารขยะสามารถตรวจคุณลักษณะของวัสดุที่จะนำมาฝากได้จากตารางคุณลักษณะวัสดุ     

รีไซเคิล และกรุณาตรวจสอบราคาวัสดุรีไซเคิลจากตารางราคาวัสดุรีไซเคิลประจำเดือนก่อนกรอก  ใบนำฝาก

 

(3) ขั้นตอนการถอนเงิน

สมาชิกสามารถถอนเงินจากบัญชี โดยกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่ RB-03 จากนั้นนำแบบฟอร์มไปยื่น ณ จุดฝาก-ถอนของฝ่ายบัญชีและการเงิน เพื่อรับเงินตามจำนวนที่ถอน ทั้งนี้สมาชิกสามารถถอนเงินในบัญชีได้ในครั้งถัดไปนับจากการฝากครั้งแรก และในการถอนแต่ละครั้งจะต้องมียอดเงินฝากคงเหลือในบัญชีไม่น้อยกว่า 20 บาท

       

 

(4) การซื้อขายวัสดุรีไซเคิล และการยื่นใบเสนอราคา

ธนาคารขยะ มจธ. กำหนดให้ทุกวันพฤหัสบดีเป็นวันซื้อขายวัสดุรีไซเคิล บุคคลภายนอกที่ต้องการรับซื้อวัสดุรีไซเคิลให้ส่งใบเสนอราคา(แบบฟอร์มที่ RB-05)มายังฝ่ายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์EESH ( แฟกซ์ 02-470-8306) หรือเสนอราคาผ่านทางโทรศัพท์(โทร.02-470-8293-4) ก่อนวันจันทร์แรกของเดือน โดยกรรมการของธนาคารจะแจ้งผลการคัดเลือกผู้รับซื้อวัสดุรีไซเคิลประจำเดือนก่อนวันพุธแรกของเดือน (กรรมการธนาคารจะพิจารณาผู้รับซื้อประจำเดือนจากราคาวัสดุรีไซเคิลที่แต่ละรายเสนอมา โดยให้ความสำคัญกับราคาวัสดุรีไซเคิลที่มีปริมาณมากสุด 5 อันดับแรก) ขั้นตอนการซื้อขายวัสดุรีไซเคิล ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

ผิดพลาด! ไม่ใช่การเชื่อมโยงที่ถูกต้อง

ขั้นตอนการเสนอราคา ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

1.ผู้รับซื้อที่ต้องการเข้ามา รับซื้อวัสดุรีไซเคิลภายใน มจธ.ต้องเสนอราคาวัสดุรีไซเคิลตามแบบฟอร์มที่ RB-05 ก่อนวัน

จันทร์แรกของเดือน โดยกรรมการของธนาคารจะแจ้งผลการคัดเลือกผู้รับซื้อประจำเดือนก่อนวันพุธแรกของเดือน

2.กรรมการธนาคารจะพิจารณาผู้รับซื้อประจำเดือนจากราคาวัสดุรีไซเคิลที่เสนอ โดยให้ความสำคัญกับราคาวัสดุที่มี

ปริมาณมากสุดใน 5 อันดับแร

 

การให้บริการและเวลาเปิดทำการของธนาคารขยะ

1.        ธนาคารขยะรีไซเคิล มจธ. เปิดทำการทุกวันพฤหัสบดี เวลา 10.30-12.30 น. (ธนาคารขยะรีไซเคิล มจธ. ตั้งอยู่ ณ จุดรวมขยะที่ 1 ใกล้สนามฟุตบอลเยื้องอาคารศิลปศาสตร์,LNG)

2.        การบริการรับฝากแบบเคลื่อนที่จะให้บริการเฉพาะสมาชิกที่ต้องการฝากวัสดุรีไซเคิลมากกว่า 100 กิโลกรัมต่อครั้ง โดยสมาชิกที่ต้องการใช้บริการดังกล่าวต้องติดต่อมายังฝ่ายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์EESH (โทร.02-470-8293-4) ก่อนวันพฤหัสบดีอย่างน้อย 2 วัน เพื่อนัดเวลารับฝากวัสดุรีไซเคิลแบบเคลื่อนที่ โดยทางธนาคารจะให้บริการดังกล่าวเฉพาะวันพฤหัสบดีเท่านั้น

3.        บุคคลภายนอกที่ต้องการรับซื้อวัสดุรีไซเคิลให้ส่งใบเสนอราคา (แบบฟอร์มที่ RB-05) มายังฝ่ายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ศูนย์EESH (แฟกซ์ 02-470-8306,โทร.02-470-8293-4) ก่อนวันจันทร์แรกของเดือน โดยกรรมการของธนาคารจะแจ้งผลการคัดเลือกผู้รับซื้อวัสดุรีไซเคิลประจำเดือนก่อนวันพุธแรกของเดือน (กรรมการธนาคารจะพิจารณาผู้รับซื้อประจำเดือนจากราคาวัสดุรีไซเคิลที่แต่ละรายเสนอมาโดยให้ความสำคัญกับราคาวัสดุรีไซเคิลที่มีปริมาณมากสุด 5 อันดับแรก)

4.        การนำขยะ(วัสดุรีไซเคิล)ออกภายนอก มจธ. จะต้องได้รับใบซื้อขาย/อนุญาตนำวัสดุรีไซเคิลออกนอก มจธ. (แบบฟอร์มที่ RB-04) จากธนาคารขยะรีไซเคิล มจธ. เท่านั้น

5.        การขายครุภัณฑ์ของหน่วยงานต่างๆให้ดำเนินการตามระบบของงานพัสดุ มจธ. ไม่จำเป็นต้องซื้อขายผ่านระบบของธนาคารขยะรีไซเคิล