Today :

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

สนับสนุนโครงการ

 

 

 

ติดแบนเนอร์ให้โครงการ
แล้วเมล์แจ้งมาได้ที่
witthaya_bkk@hotmail.com
จะติดแบนเนอร์ให้ในหน้าแรก

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

บ้าน คือที่พักอาศัยของเรา เป็นปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ แต่ปัจจุบันหลายบ้านได้ถูกสร้าง โดยลืมถึงสภาพภูมิอากาศที่ตั้ง เพราะทำเลพื้นที่ไม่อำนวย การใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสม ทำให้ต้อง ปรับอากาศภายในบ้าน   ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองและทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น   หนทางที่จะลดการใช้ พลังงานคือการปรับเปลี่ยน วิถีชีวิต พฤติกรรม และใช้พลังงานให้คุ้มค่าที่สุด

          การเริ่มต้นประหยัดพลังงานที่ดีควรมีแนวคิดและหลักปฏิบัตที่ถูกต้อง  ซึ่งต่อไปนี้จะเป็น แนวคิด เทคนิควิธีการอยู่ 10 ประการ เพื่อให้ท่านสามารถนำไปใช้ได้

1.หันบ้านให้ถูกทาง

                                                          "อยู่เย็นเป็นสุข" "ร่มรื่น ร่มเย็น" "โล่ง โปร่ง สบาย"
          สภาพแวดล้อมรอบๆบ้านมีส่วนช่วยทำให้เย็นสบาย  เช่น  มีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงา ไม่กีดขวางทางลม ฯลฯ การวางตำแหน่ง
ของบ้านที่ดี จะทำใหบ้าน้รับประโยชน์จากธรรมชาติได้มากที่สุด ถือเป็นการเริ่มต้นช่วยให้การใช้พลังงานในบ้านน้อยลง

ดวงอาทิตย์อ้อมใต้
                   ความร้อนที่เกิดในบ้าน ส่วนใหญ่จะเกิดจากดวงอาทิตย์ การจะลดความร้อนจากดวง
อาทิตย์  ก็ต้องป้องกันแสงแดดไม่ให้ส่อง
เข้าบ้าน  สำหรับประเทศไทย ดวงอาทิตย์ที่ขึ้นทางด้านทิศตะวันออก
จะมีการเคลื่อนตัวไปทิศใต้ จนไปตกทางด้านทิศตะวันตก เป็นเวลา
8 - 9 เดือน และเดือนธันวาคมก็เป็นช่วงเดือนที่ดวงอาทิตย์อ้อมไป
ทางทิศใต้มากที่สุดและมีมุมแดดต่ำที่สุดด้วย    ช่วงเดือนที่เหลืออีก
ประมาณ 3 - 4 เดือน (พฤษภาคม - กรกฎาคม) นั้น   ดวงอาทิตย์จะ
เคลื่อนที่อ้อมผ่านทิศเหนือโดยมีมุมแดดค่อนข้างสูง ฉะนั้น ด้านทิศ
เหนือสำหรับบ้านเรา จึงเป็นทิศที่แสงธรรมชาติค่อนข้างดี
                   ดังนั้นการวางตำแหน่งของบ้านก็อาจใช้หลัก
            "เปิดรับ แสงเหนือ"  "กันแดดด้านตะวันตกและใต้"
ลมเหนือและลมใต้
                   ลมประจำที่พัดผ่านประเทศของเรา เป็นลมที่มีทิศทางค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากเป็นลมมรสุม (คล้ายลมบก ลม-
ทะเล แต่พัดเป็นบริเวณกว้าง และพัดเป็นเวลานานๆ) มีอยู่ 2 ชนิด คือ ลมมรสุมฤดูร้อนที่พัดมาจากทิศใต้และทิศตะวันตก
เฉียงใต้ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม      และลมมรสุมฤดูหนาวที่พัดมาจากทิศเหนือและตะวันออก-
เฉียงเหนือในช่วงประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์   แปลว่าการจะสร้างบ้าน หรือจัดวางบ้านให้ได้รับลมประจำก็
ต้องพยามให้มีช่องลมทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ ทั้ง 2 ด้าน สำหรับบ้านในเมืองก็พยามเลือกด้านที่แสงแดดเข้าน้อยที่สุด

2.กางร่มให้บ้าน

        หลายๆบ้านไม่สามารถหันหน้าหลบแดดได้ เนื่องจากปลูกสร้างมานาน ก็อาจใช้แนวคิด "กางร่มให้บ้าน" เพื่อให้ตัว
บ้านเช่น ผนัง หลังคา ช่องหน้าต่างถูกแดดน้อยที่สุด เมื่อความร้อนเข้าบ้านน้อย ค่าไฟฟ้าของเครื่องปรับอากาศก็น้อยลงด้วย

ต้นไม้สุดยอดร่มเงา
                      วิธีง่ายๆและให้ประโยชน์มากที่สุดของการกางร่มให้
บ้าน คือการปลูกต้นไม้บริเวณรอบๆบ้าน   นอกจากความสดชื่นและ อากาศบริสุทธ์ที่ได้รับจากต้นไม้ หลายท่านคงพอทราบว่าต้นไม้ช่วย
ลดความร้อนได้ด้วย โดยจะดูดน้ำออกมาจากพื้นดิน และระเหยเป็น
ไอน้ำผ่านทางปากใบ ทำให้อากาศโดยรอบเย็นลง
                      เชื่อหรือไม่ว่า ต้นไม้ขนาดใหญ่ สามารถให้ความเย็น
เท่ากับเครื่องปรับอากาศขนาด 1 ตันเลยทีเดียว
                      ดังนั้นทุกครั้งที่เราปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน   เรากำลัง
ได้ประโยชน์จากธรรมชาติ  4  ประการด้วยกันคือ   "ให้ร่มเงา"
"สร้างอากาศบริสุทธ์" "ทำความเย็น" และช่วยประหยัดพลังงาน"
ให้
กับบ้านเราไปพร้อมๆกัน

ติดกันสาดให้บ้าน
                      การติดตั้งกันสาดหรือแผงกันแดดเป็นการป้องกัน
ความร้อนและแสงแดดไม่ให้ส่องผ่านหน้าต่างเข้ามาเป็นความร้อน
สะสมอยู่ในบ้าน การติดตั้งกันสาดที่ดีต้องเป็นกันสาดที่กันไม่ให้แสง
แดดส่องเข้ามาในบ้านได้เกือบทั้งหมด แต่อย่าติดมากจนทำให้ภาย
ในบ้านมืดจนต้องเปิดไฟในเวลากลางวัน

3.อย่าใส่แหล่งความร้อน

                    บริเวณที่ว่างรอบตัวบ้าน หลายๆบ้านทำเป็นลานคอนกรีตจอดรถอยู่กลางแสงแดดตลอดเวลา พื้นที่พวกนี้จะเป็นตัว
ดูดความร้อนและอมความร้อนได้ดี เป็น "แหล่งผลิตความร้อน หรือ มวลความร้อน" จึงควรมีพื้นที่แบบนี้ให้น้อยที่สุด
                    การแก้ไขกรณีดังกล่าว ก็เช่น การใช้บล็อคสนาม (หญ้าสามารถขึ้นได้) แทน ไม่เช่นนั้นก็ "กางร่มให้ลานคอนกรีต"

ปูฉนวนให้พื้นดิน
                           การปลูกหญ้า ไม้คลุมดินโดยรอบบ้าน นอกจากเป็น
ฉนวนกันความร้อนแล้ว  ยังเป็นตัวป้องกันฝุ่นอีกด้วย  ทั้งยังเป็นการ
สร้างความร่มรื่น สบายตา ลดการสะท้อนแสง ฯลฯ ย่อมดียิ่งนัก

 

4.ยอมให้ลมพัดผ่าน

        ทุกครั้งที่มีลมพัดผ่านตัวเรา เราจะรู้สึกเย็นสบาย ถ้าบ้านเรามีลม(เย็น) ผ่านเข้าบ้าง บ้านเราก็อาจไม่จำเป็นต้องเปิด
เครื่องปรับอากาศ หรือเปิดเพียงแต่น้อย ทิศทางลมหลักๆคือลมหน้าร้อนพัดมาจากทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ลมหน้าหนาว
พัดมาจากทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หากวางบ้านหรือช่องหน้าต่างทางทิศทางนี้ก็จะมีโอกาสรับลม

                    แต่ทางที่ดีควรอย่าให้มีเฟอร์นิเจอร์และสิ่งของอื่นมาขวางทางลมเข้าออก  และควรมีช่องลม  2  ด้านอยู่ตรงข้ามกัน
หากไม่มีก็อาจใช้พัดลมช่วยได้ ซึ่งเจ้าพัดลมนี้กินไฟน้อยกว่าเครื่องปรับอากาศเยอะเลย..

5.เปิดบ้านรับแสงธรรมชาติที่ดี

        การที่แต่ละห้องมีช่องแสงหรือหน้าต่างให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาได้   ประโยชน์ที่เห็นชัดที่สุดคือเราไม่ต้องเสียค่า
ไฟฟ้าที่จะเปิดโคมไฟในเวลากลางวัน ซึ่งช่องทางที่ดีนั้น คือทิศเหนือ ซึ่งดวงอาทิตย์จะอ้อมมาทิศเหนือเพียง 3 เดือนเท่านั้น
ดังนั้นถ้าเปิดหน้าต่างภายในห้องก็จะได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติที่ดี หรือแสงด้านทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงบ่าย
จะไม่โดนแดด ก็จัดได้ว่ารับแสงธรรมชาติที่ดีเช่นกัน

6.ปรับที่และปรับตัว

         เชื่อว่าที่บ้านของทุกคนจะมีบริเวณที่สบายที่สุดในแต่ละเวลา เมื่อรู้ว่าเป็นบริเวณใดแล้วก็ลองปรับตัวของเราเข้าหา
เช่น จัดให้บริเวณนั้นมีเก้าอี้นั่งพัก นั่งเล่น หรือทำงานเล็กๆน้อยๆ แค่นี้ก็ทำให้บ้านเรา "เป็นบ้านที่สบาย ประหยัดพลังงาน"

ปรับที่โดยมีตารางช่วยจัดวางห้อง
                            ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ถ้าเราจะทำตารางจัดวางห้อง ลองมาดูตัวอย่างข้างล่างนี้ดีกว่า

ปรับที่ สังเกตให้ดี มีตัวบอก
                            การสังเกตหรือจดจำข้อดีหรือข้อเสียของแต่ละพื้นที่ภายในบ้าน เช่น มีร่มเงาตลอดทั้งวัน มีลมผ่านเสมอ
ร้อนตลอดเวลาบ่ายฯลฯ อย่างที่กล่าวมาแต่ต้น จะทำให้การปรับที่ ปรับบ้านให้อยู่สบายและประหยัดพลังงานเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น แม้แต่สัตว์เลี้ยงภายในบ้านก็มักจะมองหาที่ที่อยู่สบาย เพื่อให้ตัวมันสบาย
                           ดังนั้นขอให้หมั่นสังเกต จดจำ หรือบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างภายในบ้านไว้ รับรองว่ามีประโยชน์แน่นอน
ปรับตัวโดยให้เสื้อผ้าลดค่าไฟ
                          เชื่อหรือไม่ว่าเสื้อผ้าที่เราสวมใส่อาจทำให้เราเสียค่าไฟเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว โดยเสื้อผ้าที่เราสวมใส่นั้นก็
เป็นส่วนหนึ่งเลยทีเดียว  ที่เห็นชัดเจนคือในอาคารสำนักงานหลายคนปรับอากาศภายในเย็นเกินไปเลยต้องหาเสื้อผ้าที่
หนาขึ้น หรือหลายคนชอบใส่สูท เลยต้องปรับอากาศให้เย็นลง
                          หากคิดจะช่วยประเทศชาติประหยัดพลังงาน ก็อาจปรับตัวโดยท่องคาถา "ถอดสูท หยุดใส่ผ้าหนา ลดค่าไฟ" ไว้ก็ไม่เสียหายแต่อย่างใด

7.ติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อน

         เมื่อทำตามขั้นตอนข้างต้นทั้งหมดแล้วบ้านยังร้อนอยู่อีก    ก็อาจจำเป็นต้องใช้วัสดุเพื่อกันความร้อน    ที่เรียกว่า "ฉนวนกันความร้อน" เพื่อป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาในบ้าน วัสดุพวกนี้มีหลายชนิดและประเภท สามารถเลือกใช้ได้ตาม
ความต้องการ

สำหรับห้องที่มีการปรับอากาศ (ห้องที่ติดแอร์)
  •  หากมีงบประมาณเพียงพอ ควรติดฉนวนทั้งที่ผนังและหลังคา (ฝ้าเพดาน)ของทุกห้องที่มีการปรับอากาศ จะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานไม่หนัก เนื่องจากจะสู้รบกับความร้อนภายในบ้านเท่านั้น
  • หากมีงบประมาณปานกลาง ควรติดฉนวนที่หลังคา แล้วเลือกติดผนังด้านที่ร้อนที่สุดอีก 1 - 2 ด้าน
  • หากมีงบประมาณน้อย เลือกติดที่หลังคา ก็พอจะช่วยประหยัดพลังงานได้ เพราะหลังคาคือส่วนที่ร้อนที่สุด

สำหรับห้องหรือบ้านที่ไม่มีการปรับอากาศ

  • แนะนำเป็นอย่างยิ่งควรหางบประมาณสำหรับติดตั้งฉนวนบนหลังคาชั้นบนสุด เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้าเพดานร้อนและแผ่ความร้อนมาหาเรา
  • หากมีงบประมาณเพียงพอ อาจเลือกติดที่ผนังด้านที่ค่อนข้างร้อนเพิ่มเติม
  • อย่าเผลอติดฉนวนบ้านที่ไม่มีการปรับอากาศจนเต็มบ้าน เพราะฉนวนนั้นจะป้องกันไม่ให้ความร้อนออกไปจาก
    บ้านด้วย

8.เรื่องน่ารู้ก่อนใช้ไฟฟ้า

วัตต์ (WATT) ที่เห็นเขียนอยู่บนเครื่องไฟฟ้านั้นบอกอะไร
                           วัตต์ (WATT) หรือตัว W ทีมักเขียนอยู่ตามหลอดไฟ พัดลม หรือเครื่องปรับอากาศฯลฯ คืออัตรากำลังการ
ใช้ไฟฟ้า (Power Rating) ของเครื่องใช้ไฟฟ้า พูดง่ายๆก็คือ หน่วยของไฟฟ้าที่บอกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าของเรานั้นกินไฟเท่า-
ไรเวลาเปิดใช้งาน เช่น หลอดไฟที่เขียนว่า 36 W หมายความว่าหากเปิดหลอดตัวนี้มันจะกินไฟ 36 วัตต์ต่อหนึ่งชั่วโมง
หากวัตต์มาก เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นก็จะใช้พลังงานมากด้วย
การใช้พลังงานไฟฟ้าในบ้าน
                            พลังงานที่ใช้ส่วนใหญ่ในบ้านพักอาศัยเป็นพลังงานไฟฟ้า แยกได้ 3 ส่วนหลักๆคือ
           1. ไฟฟ้าสำหรับปรับอากาศ
           2. ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง
           3. ไฟฟ้าสำหรับใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ
บำรุงรักษา คือหัวใจของการใช้อุปกรณ์
                             ไม่ว่าจะเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ดี ประหยัดไฟเพียงใด หากไม่มีการดูแลรักษาหรือวางไว้ในที่ไม่เหมาะสม
อุปกรณ์ที่ดีก็อาจเป็นตัวร้ายกินไฟก็ได้ สิ่งต่างๆเหล่านี้อาจทำให้ตู้เย็นเบอร์ 5 เหลือเป็นเบอร์ 1 ได้ทันที

9.ลดปัญหาการใช้ไฟฟ้า หรือ กลยุทธ์ลดค่าไฟ

เอาของร้อนและชื้นออกไปจากห้องแอร์
                                  เชื่อหรือไม่ว่าเครื่องปรับอากาศใช้ทำความเย็นแค่ 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น อีก 70 เปอร์เซ็นต์ใช้ใน
การ "ทำให้อากาศแห้ง" ในห้อง หากเราไม่อยากให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ก็ไม่ควรนำของร้อน หรือของชื้นเข้าไป
ในห้องที่มีการปรับอากาศ
ปิดแอร์อย่าเปิดประตูหน้าต่างทันที
                                  คงมีหลายคนที่ตื่นเช้าออกจากห้องนอนแล้วเปิดหน้าต่างทันที การทำเช่นนั้นอาจทำให้เครื่องปรับ
อากาศทำงานหนักขึ้นเมื่อเข้ามาเปิดครั้งต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากอากาศข้างนอกเข้ามาจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ และสะสมอยู่
ตามผ้าห่ม ผ้าม่าน
                                   ข้อแนะนำคือ หลังจากปิดเครื่องปรับอากาศไม่ควรเปิดประตูหน้าต่างทันที ปล่อยให้อากาศปรับกัน
เองดีกว่า เผลอๆอาจลดฝุ่นละอองเข้ามาในห้องได้อีก
25 องศา ตัวเลขเย็นกำลังดี
                                   เมื่อได้ป้องกันความร้อนในบ้านให้เป็นอย่างดีแล้ว ควรตั้งอุณหภูมิห้องไว้ที่ 25 องศา ก็เพียงพอที่
จะทำให้อากาศในห้องนั้นเย็นสบายแล้ว ดังนั้นควรท่องจำไว้ว่า "25 องศา ใส่เสื้อผ้าเบาบาง ประหยัดสตางค์ค่าไฟ"
เปิดพัดลมช่วยกันดีกว่า
                                   ห้องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่ เรามักใช้วิธีเร่งลมที่เป่าออกมา ไม่ก็ปรับอุณหภูมิให้ต่ำลง จะได้เย็น
ทั่วทั้งห้อง การทำเช่นนั้นจะเป็นการทำให้เครื่องปรับอากาศกินไฟมากขึ้น ลองนำพัดลมมาตั้งซักตัว เปิดลมให้แรงหน่อย
แม้จะเสียค่าไฟเปิดพัดลม 1 ตัว แต่ยังเสียน้อยกว่าลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศเยอะเลย
ทำกิจกรรมในบ้านพร้อมกัน
                                   บ้านที่อยู่กันหลายคน ควรพยามทำกิจกรรมพร้อมๆกัน เช่นการกินข้าวในแต่ละมื้อ ก็ช่วยลดค่าไฟ
ของไมโครเวฟ หรือค่าก๊าซหุงต้มจากการอุ่นอาหาร จะเห็นได้ว่าทุกคนในบ้านมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการลดพลังงานและ
ค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน
ทีวี อย่าได้มีไว้กล่อมนอน
                                    มีบางคนที่รอเฝ้าดูรายการโทรทัศน์ รายการโปรดช่วงดึก แล้วเผลอหลับไป เชื่อหรือไม่ว่าแต่ละ
วันที่เผลอไปนั้น เสียค่าไฟให้โทรทัศน์ที่ไม่ได้ดูเกือบ 3 บาทต่อวัน หากเผลอเช่นนี้ทุกวันทั้งเดือน ก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นไม่
น้อยกว่า 65 บาทแน่นอน
                                   รู้อย่างนี้แล้วอย่าปล่อยให้โทรทัศน์กล่อมเรานอนเลยดีกว่า

10.ประหยัดสตางค์ของเรา

                 หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้อาจไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรหากเป็นบ้านที่ปลูกมานานแล้ว คงเป็นไปได้ยาก
ที่จะให้รื้อบ้านที่มีแล้วทิ้งไปเพื่อสร้างบ้านใหม่ และเพื่อให้ประหยัดพลังงานแนวคิดข้อสุดท้ายนี้ จะเป็นการชี้แนะแนวทาง แบ่งได้
เป็น 4 ระดับดังนี้

ระดับที่ 1 ทำได้ทันทีไม่ต้องมีเงินทุน
                    เป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดในการประหยัดพลังงานในบ้าน เนื่องจากทุกคนสามารถทำได้ทันที คือการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมการใช้สอย การใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน ระดับนี้อาศัยแนวคิดที่ 6 คือ "การปรับตัว" เป็นการเริ่มต้น ย้าย
เฟอร์นิเจอร์ไม่ให้ขวางทางลม แล้วเสริมด้วยเรื่องน่ารู้ก่อนใช้ไฟฟ้า
ระดับที่ 2 ทำเองก็ได้ใช้งบประมาณนิดหน่อย
                     เมื่อปรับตัวและปรับที่แล้ว อาจมีส่วนต้องเสริมเพิ่มเติมให้กับบ้านหรือรอบๆบ้าน โดยที่เจ้าของสามารถลงมือ
ทำเอง เช่น การปลูกต้นไม้ การปลูกไม้เลื้อยเพื่อป้องกันแดด ระดับนี้มีการใช้จ่ายเงินบ้าง เช่น ค่าต้นไม้ ค่าปูบล็อค ค่า-
ฉนวนกันความร้อน
ระดับ 3 ทำเองลำบาก ต้องฝาก(จ้าง) ผู้เชี่ยวชาญ
                      บางครั้งการทำในระดับที่ 2 อาจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ หรือแรงงานคนอื่นมาช่วยทำ เนื่องจากงานมีมากเกิน
ไป ทำเองอาจไม่สวยเท่าไหร่ ไม่แน่ใจเรื่องโครงสร้างของบ้าน ทั้งหมดที่ว่านี้คงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาช่วยในการ
ปรับปรุงซึ่งต้องมีการจัดเตรียมงบประมาณและเวลาในส่วนนี้เพิ่มจากค่าวัสดุด้วย
ระดับ 4 หากมีงบประมาณสร้างใหม่ให้ดี
                      ทั้ง  3  ระดับที่กล่าวมาถือเป็นการปรับปรุงบ้านที่สร้างเสร็จไปแล้วให้พลังงาน   แต่มีบางครอบครัวที่จะสร้าง
บ้านใหม่ ระดับสุดท้ายคือการ "หันบ้านให้ถูกทาง" เป็นจุดเริ่มต้นในการเลือกซื้อที่ดินหรือใช้ตางรางในการจัดวางห้อง เลือกแบบบ้าน จากนั้นก็สามารถนำทุกแนวคิดมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งหมด ลองปรึกษาผู้รู้ ผู้ออกแบบ สถาปนิก วิศวกร หรือ
ช่างก่อสร้างด้วยแนวคิดทั้ง 10 ประการ น่าจะถือเป็นการประหยัดพลังงานที่ดีและหาร 2 ให้กับบ้านจริงๆ

ส่งท้ายแนวคิด

แนวคิดทั้ง 10 ข้ออาจท่องจำเป็นคำคล้องเพื่อให้ง่ายต่อการจำดังต่อไปนี้

หันบ้านให้ถูกทาง กางร่มเข้าบ้านไว้ อย่าใส่แหล่งความร้อน ยอมให้ลมผ่าน เปิดบ้านรับแสงดี
ปรับที่และปรับตัว อย่ากลัวติดตั้งฉนวน ควรให้รู้เรื่องไฟฟ้า ลดปัญหาการใช้พลังงาน ประหยัดสตางค์ของเรา
 
 

Copyright © 2002-3 All Rights Reserved.  King Mongkut's University of Technology Thonburi