Today :

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

สนับสนุนโครงการ

ติดแบนเนอร์ให้โครงการ
แล้วเมล์แจ้งมาได้ที่
witthaya_bkk@hotmail.com
จะติดแบนเนอร์ให้ในหน้าแรก

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

การปรับสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยเพื่อการประหยัดพลังงาน

โครงการมหาวิทยาลัยหารสอง ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

รายงานผลการดำเนินงาน ส่วนงานที่ 6 การบริหารจัดการการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลับเพื่อการประหยัดพลังงาน ปี 2546-48 (PDF format)

ผลสำรวจและวิเคราะห์ ความคิดเห็น เกี่ยวกับโครงการ GREEN UNIVERSITY

ปัจจุบัน มจธ. ยังขาดต้นไม้ในบางพื้นที่ ทำให้อากาศร้อนอบอ้าว บางอาคารที่ไม่มีต้นไม้ประดับทำให้ตัวอาคารดูแข็งกระด้างน่าเบื่อ ตัวอาคารเรียนได้รับความร้อนเต็มที่ เป็นเหตุให้เครื่องปรับอากาศภายในอาคารทำงานหนักและสิ้นเปลืองพลังงานไปมาก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดโครงการที่มีชื่อว่า “GREEN UNIVERSITY” หรือ “มหาวิทยาลัยหารสอง” เพื่อแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมภายในบริเวณมหาวิทยาลัย โดยการปลูกต้นไม้รอบบริเวณอาคารเพื่อสร้างร่มเงา และภายในอาคารเพื่อเพิ่มบรรยากาศให้ตัวอาคารน่าอยู่มากขึ้น

ในส่วนของโครงการย่อย การปรับปรุงสภาพแวดล้อม ได้เลือกใช้กรณีศึกษา จากการสำรวจและวิเคราะห์ อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (SOA&D) วิทยาเขตบางขุนเทียนซึ่งไม่มีร่มเงาของต้นไม้เลยโดยเฉพาะบริเวณลานโล่ง (courtyard) ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ นอกจากนั้นด้วยวัสดุและสีของลานกลางคณะยังเป็นที่กระจายความร้อนจากแสงแดดเข้าสู่ตัวอาคารอย่างมาก จึงเลือกใช้เป็นกรณีศึกษาเพราะจะต้องมีการพัฒนาโดยเร็ว แต่การเปลี่ยนแปลง อาจมีผลต่อความเป็นอยู่ภายในคณะ เราจึงต้องมีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ใช้ภายในคณะเป็นอันดับแรก

ออกแบบสอบถามสำหรับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คนภายในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แบบสอบถามแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว ส่วนที่สองเป็นส่วนตอบคำถามของหัวข้อ

ในส่วนแรกของแบบสอบถาม พบว่า ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นชาย 64% เป็นหญิง 36% จำกัดอายุที่ 17 ปีขึ้นไป ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษา 88% เป็นอาจารย์ 9% และบุคลากร 3% ทุกคนเป็นคนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มจธ.
กลุ่มตัวอย่างตอบคำถาม เกี่ยวกับบริเวณที่ต้องการให้มีต้นไม้ประดับ

     - 65% ต้องการให้มีบริเวณทางเข้าอาคาร ( บริเวณที่ 1 )
     - 58% บริเวณเฉลียงอาคาร ( บริเวณที่ 2 )
     - 53% บริเวณลานโล่ง ( บริเวณที่ 3 )
     - 45% บริเวณโรงอาหาร ( บริเวณที่ 4)
     - 30% บริเวณลิฟท์ ( บริเวณที่ 5 )
     - 20% บริเวณห้องน้ำ และ สุขา ( บริเวณที่ 6 )

จากคำถาม เกี่ยวกับการใช้ลานโล่ง ( courtyard )

     - 61% ใช้เพื่อกิจกรรมนักศึกษา เช่น การประชุมเชียร์ ( บริเวณที่ 1 )
     - 29% ใช้เดินผ่านไปยังห้อง work shop ( บริเวณที่ 2 )
     - 26% ใช้งานเฉพาะกิจ ( บริเวณที่ 3 )
     - 23% ใช้แสดงผลงานนักศึกษาในนิทรรศการ ( บริเวณที่ 4 )

จากคำถาม เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงลานโล่งให้เป็นสวนไม้หรืออย่างอื่น

     - 67% เห็นด้วย เพราะอยากให้มีร่มเงาบริเวณลานโล่ง ( บริเวณที่ 1 )
     - 29% ไม่เห็นด้วย เพราะพอใจกับสภาพของลานโล่งปัจจุบัน ( บริเวณที่ 2 )
     - 4% เฉยๆ เปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็ได้ ( บริเวณที่ 3 )

ผลงานการประกวด The Green Lab Design Competition
การดำเนินงานเป็นการออกแบบพื้นที่ลานระหว่างอาคารคณะสถาปัตย์ โดยร่วมกับการใช้กิจกรรมการรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการปรับปรุงพื้นที่เพื่อประหยัดพลังงาน ในช่วงระหว่าง 15 มิ.ย. – 15 ส.ค. 2546 ซึ่งจากผลดังกล่าว พบว่า มีนักศึกษาและบุคลากรเข้าร่วมส่งผลงานประกวด จำนวน 100 คน และมีผลงานส่งเข้าประกวดจำนวนทั้งสิ้น 50 ชิ้น และมีผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 , 2 และรางวัลชมเชย ซึ่งผลงานแต่ละชิ้นมีแนวคิดในการออกแบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1

นาย ศรีธนา เอี่ยมจั่น
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ
ภาควิชาสถาปัตยกรรม
ชมภาพและแนวความคิดในการออกแบบ >>

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1

นาย ดนุชา เทพพันธุ์
นาย ภาณุพงษ์ เอื้อพูนวิริยะ
นาย รณพิเชษฐ์ กุวลัยรัตน์

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ
ภาควิชาสถาปัตยกรรม
ชมภาพและแนวความคิดในการออกแบบ >>

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2

นางสาว กิตติมา เหล่าชูกิจเจริญ
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ
ภาควิชาสถาปัตยกรรม
ชมภาพและแนวความคิดในการออกแบบ >>
ตัวอย่าง Poster เพื่อประชาสัมพันธ์
ตัวอย่างแผ่นพับรายละเอียด
 
 

Copyright © 2002-3 All Rights Reserved.  King Mongkut's University of Technology Thonburi