Today :

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

 

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

สนับสนุนโครงการ

 

 

 

ติดแบนเนอร์ให้โครงการ
แล้วเมล์แจ้งมาได้ที่
witthaya_bkk@hotmail.com
จะติดแบนเนอร์ให้ในหน้าแรก

- - - - - - - - - - - - - - - - - -

การบริหารจัดการการใช้น้ำประปาและการบำบัดน้ำเสียภายในมหาวิทยาลัย

โครงการมหาวิทยาลัยหารสอง ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
การสำรวจแนวท่อเพื่อแก้ไขซ่อมแซมระบบท่อจ่ายน้ำประปาใต้ดินที่แตกรั่ว
การสำรวจแนวท่อที่กล่าวถึงทางส่วนงานจะทำการสำรวจแนวท่อจ่ายน้ำประปาที่เข้าสู่แต่ละอาคารต่างๆของทางมหาวิทยาลัยโดยเหตุที่ทางส่วนงานต้องทำการตรวจสอบแนวท่อจ่ายน้ำประปา เพราะว่าต้องการศึกษาสภาพของท่อจ่ายน้ำประปาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องมาจากท่อจ่ายน้ำประปาบางช่วงได้มีการปรับปรุงแก้ไขก่อนหน้าที่จะเกิดโครงการขึ้นและอาจไม่ได้ถูกแสดงในแบบที่ได้รับจากส่วนอาคารและสถานที่และเพื่อให้เกิดความถูกต้องชัดเจนกับสภาพที่มีอยู่จริง

ตรวจสอบการรั่วของท่อในช่วงต่างๆ โดยการติดตั้งมิเตอร์วัดน้ำเพื่อตรวจสอบตามความจำเป็น ทีมงานได้ทำการศึกษาข้อมูลปริมาณการใช้น้ำของทางมหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการหาแนวทางแก้ปัญหาปรับปรุงการใช้น้ำประปาดังนี้
รูปภาพกราฟแสดงค่าน้ำประปาของอาคารต่างๆ ใน มจธ.
อาคาร 190 ปี (1)
อาคารเคมี
อาคารเรียนรวม 3,4,5
อาคาร 190 ปี (2)
อาคารวิศวกรรมเคมี
รูปภาพกราฟเปรียบเทียบค่าน้ำประปาของอาคารวิศวกรรมเคมีในปีงบประมาณ 2544 กับ 2545
จากรูปจะเห็นได้ว่าเมือปีงบประมาณ 2544 มีปริมาณการใช้น้ำที่มากกว่าปีงบประมาณ 2545 ซึ่งทั้งที่แนวโน้มของนักศึกษามีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี น่าจะส่งผลให้ค่าน้ำประปาของปีงบประมาณ 2545 ควรจะมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นแต่กลับมีแนวโน้มที่ลดลงทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะการปรับปรุงซ่อมแซมการเดินท่อจ่ายน้ำประปาในกลุ่มอาคารนี้ได้เกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2544 โดยเกิดขึ้นก่อนที่ทางมหาวิทยาลัยจะทำสัญญากับทาง Eppoได้เกิดโครงการมหาวิทยาลัยรวมพลังหารสองเกิดขึ้นแล้ว ทางมหาวิทยาลัยจึงได้ปรับปรุงแนวท่อจ่ายน้ำประปาของกลุ่มอาคารเก่าซึ่งเดิมได้มีการเดินท่อไว้ใต้ดินซึ่งอาจจะทำให้เกิดการแตกหรือรั่วซึมทั้งนี้ระบบท่อจ่ายน้ำดังกล่าวได้ใช้งานมานาน ทางมหาวิทยาลัยจึงทำการเดินท่อใหม่ขึ้นโดยเดินท่อลอยบนพื้นดินแทนซึ่งทำให้สามารถตรวจสอบการแตกรั่วซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า จะเห็นได้ว่ากลุ่มอาคารเก่านี้มีการเดินท่อจ่ายน้ำประปาไว้ใต้ดินและมีอายุการใช้งานมานานจึงเป็นจุดที่น่าจะได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมอย่างเร่งด่วนเพื่อที่ทางมหาวิทยาลัยจะได้มีการใช้นำอย่างเต็มประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
การจัดการระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
มจธ. (บางมด) ประกอบด้วยอาคารประเภทต่างๆ รวมแล้วทั้งสิ้น 38 อาคาร สามารถแบ่งแยกประเภทได้ตามลักษณะการใช้งานของอาคารต่างๆ ดังนี้

   - อาคารหอพัก
   - อาคารเรียน
   - อาคารเรียนและปฏิบัติการ
   - อาคารปฏิบัติการ
   - อาคารสำนักงาน
   - อาคารโรงอาหาร

ซึ่งน้ำเสียจากอาคารประเภทต่างๆ ดังกล่าว สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ

   - น้ำเสียที่เกิดจาก ห้องน้ำ ห้องส้วม และโรงประกอบอาหาร
   - น้ำเสียที่เกิดจากห้องปฏิบัติการและการทำโครงงานวิจัย

สำหรับการศึกษาของโครงการนี้จะทำการพิจารณาน้ำเสียที่เกิดจาก ห้องน้ำ ห้องส้วม และโรงประกอบอาหารเท่านั้น ส่วนน้ำเสียที่เกิดจากห้องปฏิบัติการของภาควิชาต่างๆ นั้น ทางห้องปฏิบัติการต่างๆ จะต้องทำการแยกน้ำเสียดังกล่าวไว้เป็นประเภท เพื่อที่ง่ายต่อการจัดการของเสีย และทาง มจธ. ก็มีโครงการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการรองรับไว้แล้ว
ตารางค่าเฉลี่ยลักษณะสมบัติน้ำเสียของ มจธ. ( บางมด )
พารามิเตอร์
ค่าเฉลี่ย
COD ( mg/l )
236
BOD ( mg/l )
82
TKN ( mg/l )
77
SS ( mg/l )
99
pH
7.62
จากข้อมูลในตาราง จะได้ค่าเฉลี่ยลักษณะสมบัติน้ำเสียของ มจธ. ( บางมด )
ซึ่งจะใช้ข้อมูลลักษณะสมบัติน้ำเสียดังกล่าวเป็นตัวแทนน้ำเสียของ มจธ. ( บางมด ) ทั้งหมด
ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง
ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของ มจธ. เป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบคลองวนเวียน ( Oxidation Ditch ) ดังภาพด้านล่าง
จากการสำรวจภาคสนามสภาพทั่วไปของระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางและเครื่องจักรที่ใช้งานในระบบบำบัดน้ำเสีย พบว่าระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของ มจธ. นั้นไม่สามารถที่จะทำการบำบัดน้ำเสียได้แล้ว เนื่องจากมีสภาพทั่วไปของตัวระบบบำบัดน้ำเสียนั้นชำรุดทรุดโทรมมากและเครื่องจักรส่วนใหญ่เสียจึงไม่ได้เปิดใช้งาน ส่วนบางเครื่องใช้งานได้แต่มีสภาพที่ผุกร่อนจนเปิดใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพของเครื่องจักรซึ่งสภาพปัจจุบันได้แสดงไว้ในตารางที่ 2 และปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยได้ทำการรื้อถอนระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางออกไปแล้ว
<< กิจกรรมก่อนหน้า | กิจกรรมย้อนหลัง >>
 
 

Copyright © 2002-3 All Rights Reserved.  King Mongkut's University of Technology Thonburi